วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

3Gคืออะไร

3G คืออะไร
เวลาพูดถึง 3G แล้วหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ (หรือยังเข้าใจกับไม่ค่อยถูกต้องเสียเท่าไหร่) เกี่ยวกับข้อมูลที่ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ขอใช้ทับศัพท์ว่า Operator) นะครับ ส่วนเครื่องมือถือ (ขอใช้ทับศัพท์ว่า handset)

3G (3rd Generation) จริง ๆ แล้วคือคำที่กล่าวอย่างกว้าง ๆ ว่ามันคือความก้าวหน้าทางด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สาม ขอกล่าวคร่าว ๆ ถึงลักษณะในแต่ละยุคหน่อยละกันนะครับ เพื่อจะได้เห็นความแตกต่าง

1G : ยุคที่หนึ่ง คือในสมัยนั้นโทรศัพทเคลื่อนที่ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าการที่จำทำให้มันโทรออกรับสายได้ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ ยังคือว่าเป็นระบบ Analog อยู่ ถ้าใครยังจำได้ว่าสมัยนั้น เมืองไทยเราระบบนี้ให้บริการในชื่อว่า WolrdPhone 800, Cellcular 900 นั่นแหละครับ (800, 900 บ่งบอกถึงความถี่ที่ออกอากาศให้บริการ) เครื่องโทรศัพท์จะใหญ่ ๆ คล้าย ๆ กระดูกหมานั่นเลย ปัญหาที่ชัดเจนอันหนึ่งของโทรศัพท์ในยุคนี้คือ ระบบการสื่อสารระหว่าง Handset กับ ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยังไม่มีความปลอดภัยในการสื่อสารกัน คือยังสามารถดักจูนการสื่อสาร นำไปสู่การลักลอบการใช้งานได้ ในสมัยนั้นใครที่ใช้โทรศัพท์ ไปมาบุญครองโดนแอบจูนโทรศัพท์กันเยอะ เนื่องจากยังใช้ เทคโนโลยีที่เรียกว่า FDMA กันอยู่ (เหมือนวิทยุทั่วไป คือถ้าปรับความถี่ตรงกัน ก็สามารถดักฟังได้ และถ้าเข้าใจลักษณะสัญญาณที่คุยกัน ก็แอบเอาไปใช้ได้) สรุปคือ โทรศัพท์ในยุคนี้สร้างขึ้นมา เพื่อหวังผลว่ามันโทรเข้าออกได้จริง ๆ และมันเคลื่อนที่ได้ด้วย ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ (no SMS, no MMS)
สรุปในยุคที่หนึ่ง คือ
-โทรเข้าออก ในขณะที่เคลื่อนที่ได้
-เป็นระบบ Analogue

ต่อมา
2G ในยุคนี้ คือยุคที่เป็นปัจจุบันที่เมืองไทยใช้อยู่ และแพร่หลายที่สุดทั่วโลกในชื่อระบบว่า GSM เมืองไทยใช้อยู่ด้วย เป็นระบบ digital ผู้ให้บริการหลักคือ AIS(900 MHz) , DTAC(1800MHz), TrueMove(1800MHz) โดยถ้าพูดถึง GSM แล้ว ดั่งเดิมแรกเริ่มเลย GSM คือระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ที่ทำงานบนความถี่ 900 MHz เท่านั้น แต่มีอีกระบบหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ทำงานได้ที่ความถี่ 1800 MHz เรียกกว่า PCS ซึ่ง PCS ถูกออกแบบมาให้มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ GSM และในภายหลังมี 1900 MHz อีก ในที่สุดทั้งสามความถี่ ก็ได้รวมกันเป็นชื่อเดียว เรียกว่า GSM ดังนั้นสำหรับเมืองไทย GSM ในปัจจุบันสามารถทำงานได้ที่ความถี่ 900 (AIS), 1800 (DTAC, TrueMove), 1900 (โดยเคยให้บริการโดย Thai Mobile) ระบบ GSM นี้เป็นระบบ digital มีการเข้ารหัส จุดสังเกตง่ายในมุมของผู้บริโภคคือ เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ SIM card นั่นเอง ทำให้การ คัดลอกข้อมูลและการดักจูนข้อมูลทำได้ยากถึงยากมาก ดังนั้นถ้ามีใครบอกว่า GSM copy ได้นะ อย่าไปเชื่อ จะทำได้ในศักยภาพระบบผู้สร้างระบบสื่อสารเท่านั้นเพราะอุปกรณ์แพงมากกก ขอให้คิดถึงความเป็นจริงในชีวิตประจำวันว่าถ้าทำกันได้ง่าย ๆ คงทำกันไปแล้ว (โดยเฉพาะโดยเมืองจีน - -a ) ในระบบ GSM นี้มีการคิดค้นและสร้างบริการเสริมพิเศษให้สามารถทำงานบนระบบ GSM ได้ด้วย นั่นคือพวก SMS, MMS และ GPRS (การสื่อสารข้อมูลผ่านผ่านมือถือหน่ะ) พวกบางทีก็เรียกว่า VAS (value added service)

สำหรับ SMS ผมว่าเพื่อน ๆ คงไม่มีข้อส่งสัยว่ามันคืออะไร คงใช้งานกัน บ่อย ๆ ส่วน MMS ก็อย่างที่รุ้คือการส่ง Message แบบภาพและเสียงซึ่งในตรงนี้เริ่มสำคัญแล้วนะครับ สำคัญอย่างไร? เพราะว่าการส่ง MMS คือการส่งข้อมูลภาพและเสียงไปยังปลายทางซึ่งจะต้องอาศัยช่องทางในการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์ ซึ่งก็คือ GPRS นั่นเอง ลองสังเกตุดูว่ามีการรับส่ง MMS จะมีสัญลักษณ์การใช้งาน GPRS ปรากฎขึ้นบนหน้าจอโทรศัพท์

ขอขยายความ และความเข้าใจเกี่ยวกับ GPRS สักหน่อยนะครับ ว่า GPRS คือความสามารถของระบบและ handset ในการสร้าง connection เชื่อมต่อระหว่างกันให้เป็นช่องทางการสื่อสาร อุปมาเปรียบได้เหมือนสร้างถนนที่จะใช้ในการส่งข้อมูลขึ้นระหว่างเครื่อง handset กับระบบ ส่วน ข้อมูลที่จะใช้ส่งบนถนนนี้คือ MMS (ข้อมูลภาพและเสียง) นั่นเอง

ทีนี้ถ้าเอามาประยุกต์โดยตั้งคำถามว่า ในเมื่อมี GPRS เป็นถนนให้ข้อมูล electronic วิ่งจากต้นทาง A ไปหาปลายทาง B ได้ ถ้าเช่นนั้นก็น่าจะเปลี่ยนจา่ก MMS ไปเป็น ต้นทาง A คือผู้ใช้โทรศัพท์ และปลายทาง B คือ Internet ได้มั้ย ? คำตอบคือได้ครับ และนี่คือจุดเริ่มต้นของการทำให้โลก Internet มาอยู่ในมือถือได้

แต่เนื่องด้วย GPRS ความสามารถในทางเทคนิคของความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ จึงมีการเอา GSM มาพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นอีก ซึ่งพอทำเสร็จแล้วก็ตั้งชื่อว่า EDGE นั่นเองครับ เป็นบริการที่ operator เมืองไทยสามารถให้บริการ(และเก็บเงิน) ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยบางที บางคนบอกว่า EDGE คือ 2.5G ก็สุดแล้วแต่ใครจะเรียกครับตราบเท่าที่เราเข้าใจ แต่ที่แน่ ๆ คือ EDGE ทำงานอยุ่บน GSM ครับ
สรุปในยุค 2G คือ
-เป็นระบบดิจิตอล ให้ผมทางด้านความปลอดภัย และคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น
-โทรเข้าออกได้อยู่แล้วเป็นบริการพื้นฐาน
-เพิ่มเติมความสามารถส่ง SMS เข้ามาจาก 1G
-เพิ่มเติมเรื่องการส่ง data ขึ้นมา (GPRS, EDGE)

จุดเริ่มของ 3G
ต่อมา ปัญหาคือ (เห้อ.. มีแต่ปัญหา) EDGE ที่ว่าเป็นการเอา GSM มาปรับปรุงพัฒนาเนี่ยมันก็ถึงขีดสุดของมันครับ แต่ด้วยความที่ความต้องทางด้านการสื่อสารทางข้อมูลผ่านมือถือมีมากขึ้นทุกวัน ลักษณะของ content ก็เปลี่ยนไป บางคนเอาไว้เล่นเน็ตที่ต้องการความเร็วที่สูงขึ้น จึงทำให้มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาครับ โดยหนึ่งในระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า และมีชื่ออย่างเป็นทางการในทางเทคนิคว่า UMTS

3G (โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3)
3G เป็นคำนิยามกว้าง ๆ ครับ ซึ่งบ่งบอกถึงคุณลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบยุค 3G เอาไว้ ในความเป็นจริง แล้วมันคือ UMTS ครับ (UMTS เป็นระบบหนึ่งใน 3G ที่มีการใช้งานแพร่หลายมากที่สุด ไม่รวม CDMA ซึ่งเป็น 3G ใน โซน อเมริกาและระบบอื่น ๆในญี่ปุ่น)

UMTS คืออะไร? UMTS เป็นชื่อระบบครับ เหมือน GSM ที่เป็นชื่อระบบ แต่ UMTS ซึ่งถือว่าเป็น 3G ใช้การเข้ารหัสแบบที่เรียกว่า WCDMA (Wide Band CDMA) ส่วน GSM ถือว่าเป็น 2G อย่างที่ได้ชี้ให้เห็นก่อนหน้านี้แล้วครับว่า GRPS, EDGE สามารถส่งข้อมูลสื่อไปยัง internet ได้ครับ แต่ยังไม่เร็วเท่าไหร่เมื่อเทียบกับความเร็วที่ทำให้รู้สึกดีไม่ว่าจะเป็นการ เปิด webpage หรือ ดูหนังฟังเพลงต่าง ๆ ที่ช้าและยังกระตุกอยู่

จุดมุ่งหมายในยุคนี้คือการทำให้มือถือและระบบสามารถสื่อสารข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น โดยยังคงความสามารถในยุค 2G ไว้อยู่นั่นคือ ยังเป็น digital โทรเข้าโทรออกได้ตามปกติ ยังส่ง SMS,MMS ได้อยู่ และทำงานร่วมกับ GSM ของเดิมได้ แต่ส่วนการสื่อสารข้อมูลผ่านมือถือนี้ถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายหลักของ 3G คือ ส่ง data ได้เร็วขึ้น มีหลายความเร็วครับ ขึ้นอยู่กับว่า operator จะลงทุนให้ได้ความเร็วเท่าไหร่ ตอนนี้หลาย ๆ ประเทศเริ่มลงทุนพัฒนาระบบให้รองรับเครื่อง handset ที่ 21Mbps กันแล้วครับ แม้ว่าเครื่อง ณ ตอนนี้ handset จะยังไม่ค่อยแพร่หลายนักเท่าไหร่สำหรับ speed ระดับนี้ 8 Mbps นี่ธรรมดาสำหรับต่างประเทศมาก

การให้บริการการสื่อสารข้อมูลผ่าน UMTS นั้นเรียกว่า HSPA ครับ เหมือนกับที่เราเรียกการให้บริการในลักษณะนี้ว่าเป็น GPRS ใน ระบบ GSM ซึ่ง HSPA สามารถ upgrade ให้ support ความเร็วได้หลายระดับครับ 3.6Mbps , 7.2Mbps 21Mbps และสูงกว่านี้ ตามแต่ความต้องการด้านการลงทุนของ operator เช่น HSPA+ เป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีตัวหนึ่งบน UMTS ที่ทำให้ผุ้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลได้ที่ 168Mbps

แรกเริ่มเลยเนี่ย UMTS ถูกพัฒนาและถูกสร้างขึ้นมาให้ทำงานที่ความพี่ 2100 MHz อย่างเดียวนะครับ ต่อมามีการพัฒนาเพิ่มเติมให้ทำงานได้ที่ 850,900,1700,1900 และ 2100 MHz ตามแต่ว่าประเทศไหนจะมีช่วงความถี่ไหนว่างที่จะเอามาใช้เป็น UMTS ได้ ดังนั้น สำหรับเรา ผุ้ใช้ในเมืองไทย หากจะมี 3G ใช้ คงต้องดูว่า operator ให้บริการ UMTS ที่ความถี่อะไร เช่น ตอนนี้ AIS ให้บริการ UMTS ที่ 900 MHz, ส่วน DTAC กะ TrueMove ให้บริการที่ 850 MHz และ TOT 3G ให้บริการที่ 2100 MHz จากนั้นเราก็ไปซื้อเครื่อง handset รุ่นที่รองรับการใช้งาน UMTS ที่ความถี่ที่ operator นั้น ๆ ให้บริการมาใช้งานครับ


ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับ 3G ในเมืองไทย

ข่าวเกี่ยวกับ 3G ในเมืองไทย สำหรับผมมีความรู้สึกว่ายังสร้างความสับสนแก่ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยได้ตามข่าวอยู่ครับ คือถ้าอ่านตามสื่ออาจจบยังเห็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับการอนุญาตจากภาครัฐอยู่ว่ายังไม่ได้ขายใบอนุญาตให้บริการแก่ operator แต่ในด้าน operator ก็ออกมาประชาสัมพันธ์โครม ๆ ว่าตัวเองให้บริการ 3G แล้ว

ความจริงคืออย่างนี้ครับ สำหรับ License 3G ที่สื่อและ operator รอคอยกันอยู่นั้นคือ License 3G ที่ออกอากาศและทำงานที่ความที่ 2100 MHz ครับ แต่บริการ 3G ที่ operator ให้บริการอยู่ ณ วันนี้ คือการ upgrade อุปกรณ์ให้ support และทำงาน UMTS ความถี่ 850, 900MHz เจ้าของสัมปทานหลักคือ CAT สำหรับ 850MHz โดยมี DTAC, TrueMove เป็นผู้รับอุนญาตดำเนินการมาอีกต่อนึง และเป็นในลักษณะเดียวกันกับความถี่ 900MHz ที่มี TOT เป็นเจ้าของสัมปทานหลักและมี AIS เป็นผู้รับอุนญาตดำเนินการ แต่ทั้งนี้ การได้รับอุนญาตให้ดำเนินงานในความถี่ 850MHz และ 900 MHz นั้นเชิงกฎหมายนั้นยังอยู่บน License 2G โดยภาครัฐอนุญาตให้มีการออกอากาศ UMTS ที่ความถี่ดังกล่าวได้ในลักษณะที่เป็นการทดลองใช้งานครับ ประมาณว่าเป็นการทดสอบระบบไปพลางไปในระหว่างรอ license UMTS 2100 MHz ครับ บางทีก็เรียกว่า 3GSM ครับ ส่วน 3G (UMTS) ที่แท้จริงที่เป็น 3G License ตั้งแต่คลอดออกมาตั้งแต่ License นั้นก็จะมี TOT 3G ณ ขณะนี้ โดยออกอากาศให้บริการที่ 2100 MHz โดยมี TOT เป็นผู้จัดสร้างโครงข่ายทางด้านเทคนิค แต่อาจจะให้ เอกชนรายอื่นรับโควต้าหมายเลขผุ้ใช้งาน (เบอร์โทร) เอาไปทำการตลาดจำหน่ายแทน และทำ customer care เอาเอง ที่เรียกว่า MVNO (Mobile Virtual Network Operator) นั่นแหละครับ

HSPA เนี่ยถูกกำหนดรายละเีอียดปลีกย่อยลงไปอีกในเรื่องของความเร็วด้าน uplink, downlink (ลักษณะคล้ายกับ ADSL) คือ จะมีคำว่า HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) และ HSUPA (High Speed Uplink Packet Access) เนื่องจากในลักษณะการใช้งานจริง user มักจะทำการ download ข้อมูลมาหาตัวเอง มากกว่าที่จะ upload ข้อมูลไปยังปลายทาง ดังนั้นคำว่า HSPA จึงเป็นคำรวม ๆ ที่บอกถึงว่า มี HSDPA, HSUPA เป็นส่วนประกอบ เวลาเลือกซื้อโทรศัพท์ ก็ดูว่า โทรศัพท์รุ่นนั้น ๆ รองรับความเร็วด้าน Uplink / downlink เท่าไหร่

พวกระบบ EDGE , HSPA เนี่ย operator เค้าทำให้มันสามารถเชื่อต่อไปหาเครือข่ายต่าง ๆ ได้ รวมไปถีง Internet ดังนั้น เมื่อสมัครใช้บริการ HSPA แล้วมีความเร็ว 3.6 ก็สามารถว่า กับเชื่อมต่อไปยัง internet ได้
นอกจากนี้แล้วเราก็จะสามารถใช้บริการ IP ใด ๆ ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น (ยังไม่พูดถึงเรื่องค่าบริการนะว่าจะแพงแค่ไหน จะคุ้มหรือเปล่า)

Email , internet , chat , conference, IPTV , VoIP พวกนี้เป็น บริการที่ทำงานอยู่บน IP เมื่อเรามี IP connection มาถึงในมือ เราก็จะใช้งานบริการเหล่านี้ได้

เหนื่อยครับ พิมพ์ยาว ขอหยุดไว้แค่นี้ก่อน หวังว่าจะได้รับประโยชน์และทราบที่มาที่ไป เอาไว้ใช้พิจารณาซื้อเครื่องโทรศัพท์ เลือก operator เอาไว้ตามข่าวสารได้บ้างนะครับ

หมายเหตุ ข้อมูลจาก e72club.com ขอบคุณมากครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

GROOVED RUNWAY VS. DRY RUNWAY

grooved runway ไม่เท่ากับ dry runway คิดว่าประสิทธิภาพในการbrake จะเหลือแค่80%ของ dry runwayในกรณีที่ฝนตกครับ ได้ข้อมูลมาจากการไปเรียน technical and performance brushup ซึ่งข้อมูลมันจะไม่เหมือนกับใน FOM ลองพิจารณาดูแล้วกัน

BUCO ที่สมุย

อาหารอร่อย บรรยากาศดี ริมทะเล มีที่นั่งชายหาด มีเคาน์เตอร์บาร์สำหรับดริงค์ พาแฟนไปต้องชอบแน่ๆ มีส่วนลดให้ท่านละ150บาทจากvoucherด้วยนะ ถ้าไปทานร่วมกัน ก็ใช้ส่วนลดด้วยกันได้ ผมไปทานมาสามคน อาหารเพียบ จ่ายไปแค่ 650บาทเท่านั้นนนนน ถ้าไปทาน ลองสั่งยำbuco มาทานนะครับ อร่อยดี แถมพนักงานเสริฟ ดูแลดีมากครับผม ที่เชียร์นี่ไม่ได้มีอะไรนะ แค่ชอบเท่านั้น ไม่ได้เป็นหุ้นอะไรกับเค้านะครับ

trim down ไม่ได้ ทำไงดี

ใครเคยเจอปัญหาtrim down ไม่ได้ขณะที่อยู่on ground บ้างครับ ผมเจอมาแล้ว แต่กลายเป็นว่าไม่ใช่มันเสีย แต่บังเอิญลมแรง ตีstabilizer ขึ้นมา up แล้วค้างไว้ตำแหน่งนั้นเหมือนกับว่านักบินไปดึงเอาไว้ พอเราจะtrim down มันก็นึกว่าเป็น opposed trim ครับ เลยใช้trim down ไม่ได้ ถ้าใครไปเจอเคสนี้ ก็แค่ดัน control column ไปข้างหน้า หรือ on hydraulics แล้วลองtrim down ใหม่ คราวนี้ใช้ได้แน่นอนครับผม

ไอ้หยา TDK

ไปบินเครื่องTDKมา เจอปัญหาอยู่ดีๆเครื่องที่อยู่ในglideslope captured แล้ว ขณะที่บินลงBKKใช้AUTOPILOT A แล้วเครื่องบินกลับไต่ขึ้น ทั้งๆที่อยู่ในautopilot และglideslope ก็ถูกต้อง เครื่องดันไต่ขึ้นไปหนีglideslope ซะงั้น ต้องปลดบินmanual แล้วบินกลับเข้ามาหาglideslope แล้วจึงใส่ autopilot ใหม่ ถึงกลับมาปกติ on ground แล้วแจ้งช่างให้มาดู เจอปัญหาว่า autostabtrim ไม่ทำงานในขณะที่มันควรจะtrim down แต่มันทำไม่ได้ เลยทำให้เครื่องไต่ขึ้นครับ เลยรีเซ็ทCBกับclean plug ก็กลับมาปกติครับผม ช่วงนี้ใครบินTDKก็ดูหน่อยนะ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

BAK 14 RAG

BAK xx RAG คืออะไร เรามักจะเห็นใน NOTAM บ่อย ๆ

BAK : Barrier, Arresting Kit
RAG : Runway Arresting Gear

Aircraft Arresting Systems. Aircraft arresting systems consist of engaging devices and energy absorbers. Engaging devices are net barriers, disc supported pendants (hook cables), and cable support systems which allow the pendant to be raised to the battery position or retracted below the runway surface.
Energy absorbing devices are ships anchor chains, rotary friction brakes, such as
the BAK-9 and BAK-12, or rotary hydraulic systems such as the BAK-13 and E-28. The systems designated "Barrier, Arresting Kit" (BAK) are numbered in the sequence of procurement of the system design.

REF : http://www.tpub.com/content/UFC1/ufc_3_260_01/ufc_3_260_010074.htm

สำหรับ RAG ดูเพิ่มที่ wikipedia