วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรงแรมที่ พัทยา

เรื่องห้องที่พัทยาครับ

พี่สุด.......เดี่ยว
ล้ง...........เดี่ยว
พี่ตุ้ม..........เดี่ยว
พี่โบ..........เดี่ยว
พี่ณุ............เดี่ยว
เอ๊ะ...........เดี่ยว
พี่เอ............เดี่ยว
พี่กิจ+พี่แป๊ะ
พี่จิ๊บ+พี่เหม๋
พี่ปุ๋ย+พี่อิก
กุ้ง+นัท
ป๊อป+วิน
จ๊อบ+สตรอง
ไกรวิทย์+สถาพร
รวมทั้งหมด 7 ห้องเดี่ยว 7 ห้องคู่ครับ

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เตะบอลกันเหอะ

เรียนเชิญทีมงาน workshop734ทุกท่าน ร่วมเล่นกีฬา(ฟุตซอล)เพื่อสามัคคี หลังจากสัมมนา734ที่พัทยา(เย็นวันที่29) กรุณาเตรียมชุดกีฬากับรองเท้าไปด้วยครับ ทีมงานได้จองวัด เอ๊ย จองสนามไว้แล้วครับ(ขอบคุณพี่แป๊ะ athasit ครับผม) ผู้ใดสนใจร่วมjoin ติดต่อผมได้ครับ(mahesak)

PAPI RWY17 AT VTSM on test

ลงกลางคืนไม่ได้แล้วนะครับที่สมุยช่วงนี้ เนื่องจากไม่มี glidepath referenceครับผม (แต่ bangkok air ลงได้ ไสยศาสตร์ล้วนๆ) กัปตันเอ๊ะ( FC RATAPOL )ฝากมาบอกทุกท่านครับ

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ช่วยกันเช็ค RGE กับRPE ของ IRS ด้วยครับ

ปรากฏว่า มันเกิดerror กับ IRSบ่อยๆ อาจจะทำให้เกิดmap shift ค่อนข้างมากเกินไปจนน่าเกลียด จึงขอความร่วมมือ ถ้ามีtendency ของ IRS POSITION SHIFT เมื่อไหร่(ดูได้จาก POSITION SHIFT page ในFMC) ช่วยกันทำRESIDUAL GROUNDSPEED ERROR( RGE) และ RADIAL POSITION ERROR( RPE) ด้วยครับ รายละเอียดการปฏิบัติ อยู่ใน AOM VOL.1 NAVIGATION/OPERATIONครับผม ทำแล้ว ช่วยลงlog ด้วยนะครับ ไม่ว่ามันจะเกินlimit หรือไม่ก็ตาม เพราะถ้ามันดูท่าทางไม่ดี จะได้เปลี่ยนIRS ครับ

window heat overheat problem

วันนี้ไปบินเครื่องTDDมาครับ มีปัญหาเรื่อง right SIDE WINDOW HEAT OVERHEAT ทำตามchecklist ไม่หายครับ ปรากฏว่าเห็นcb pop out เลยลองรีเซ็ท ก็pop out ออกมาอีกครับ ลงlog ไปแล้ว อ้อ!เครื่องนี้ right SIDE WINDOW HEAT green light ไม่ติดครับตลอดไฟลท์ หลอดไม่ขาดครับ ลงlogไปแล้วเช่นกัน

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ASR(AIR SAFETY REPORT)

ทางทีมงาน FMP734 ขอขอบคุณกัปตันทุกท่าน ที่ช่วยเขียนASR ส่งเข้ามาเมื่อมีincidents เกิดขึ้นครับ ขอเน้นย้ำว่า ข้อมูลของท่านไม่ได้มีไว้เพื่อลงโทษหรือจับผิดแต่อย่างใดครับ มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างความปลอดภัยในการบินให้เกิดขึ้นครับ

TDD ต้องเช็คCARGO DOOR

อยู่ที่hangar BKKครับผม MCC แจ้งว่าถึงDUEต้องเช็คCARGO DOORแล้ว เลื่อนไม่ได้ ก็เลยต้องGROUNDเครื่อง ใช้เวลาทำ24hours

TDH ไปไหน

อยู่ในhangarที่BKKครับผม กำลังเปลี่ยนเครื่องยนต์ คาดว่าจะออกในไม่กี่วันนี้ครับ MCC(MAINTENANCE CONTROL CENTERZ)แจ้งว่า ต้องรื้อreverser partก็เลยทำไม่ได้ตามกำหนดครับ

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทีเด็ด ที่เชียงใหม่ ต้องลอง

ใครอยากได้โคตรโผของดีที่เชียงใหม่ มีข้อมูลอยู่ในbox ของกัปตัน ชวโรจน์ครับผม ขอบอกว่า เด็ดสุดๆครับพี่น้อง ต้องพิสูจน์

ลดระดับsecurity check ที่VTBS

เปลี่ยนจากระดับyellow เป็นgreenแล้วครับพี่น้อง จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ILS 22 NEW CHART AT SURAT AD

ตอนนี้ atc จะcleared ILS approach runway22แล้วครับ มีchart ใหม่แล้วด้วย ไปบินก็เปิดดูหน่อยนะครับ อย่าไปใช้chartเก่่าหล่ะ

ILS ON TEST ที่พิษณุโลก

on test อีกแล้วพี่น้อง runway32 จะcleared เป็นVORDME 32ครับผม

ร้านดีพร้อม ปิดให้บริการหลายวัน

จะปิดตั้งแต่วันที่11 จนถึง19 ่july ครับผม ใครบินไปสุราษฏร์ช่วงนี้ เสียใจด้วยนะครับ

latest info about HS-TDK part2

ตกลงว่า ทางช่างจะถอดmain gear จาก TDB(nok air) ที่จอดอยู่ที่อู่ตะเภา มาใส่แทนก่อน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ครับผม จึงจะออกมาใช้งานได้ ส่วนตัวTDG ตามแผน จะออกมาจากC8 check วันที่ 30 july 09 จะมีELECTRONIC FLIGHT BAG ติดตั้งon board ด้วยครับผม

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

please be informed of new " NORMAL CHECKLIST"

เพิ่มเติมitemใหม่ๆลงไป 3 items ครับ AFTER START CHECKLIST ของเราทำการแก้ไขแล้ว โดยให้ select FLAP ที่จะใช้ TAKEOFF ได้เลยหลังจาก AIRCRAFT CLEAR SIGNAL.....................RECEIVED ครับ และใน TAXI CHECKLIST ใน item ของ FLAP ก้อยังอยู่นะครับ แต่เปลี่ยนจาก SET เป็น CHECK ครับ ต่อไปนี้ไปบิน ลองศึกษา CHECKLIST กันหน่อยนะครับ ที่เปลี่ยนอีกที่คือ PARKING CHECKLIST ตอนนี้มี item "TRANSPONDER & RADAR" เพิ่มขึ้นมาด้วย( ขอcopy text มาจาก safety news ขอบคุณมากครับ)

latest info about HS-TDK

เครื่องต้องAOGครับ เนื่องจากbearing ของright main gear เสียหายอย่างหนัก ยังไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร จำเป็นต้องเปลี่ยนmain gear ทั้งชิ้น แต่ตอนนี้ไม่มีอะไหล่ครับ ต้องสั่งของไปที่singapore คาดว่าต้องใช้เวลานานแน่นอน ทางMCC( ช่าง)เลยมีแนวความคิดว่า อาจจะต้องขอถอดmain gear จากTDG ที่จะออกจาก C8 CHECK (ตาม planned จะออกวันที่29 นี้) ยังไม่รู้ว่าจะตัดสินใจอย่างไรครับ แต่ที่แน่ๆ ไฟลท์ของ734ต้องถูกกระทบแน่นอน กรุณาตรวจสอบสถานะไฟลท์ของท่านจากTHAI SQUAREหรือจาก ODครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มีVTBS parking bay coordinate ใน FMC database แล้ว

ผมเขียนVR ไปถามว่า ย้ายมาบินที่สุวรรณภูมิชาติกว่าๆแล้ว ทำไมไม่มีข้อมูล parking position ในFMC ซักกะที เค้าตอบมาแล้วครับ เริ่มใช้ได้ตั้งแต่NAV DATABASE cycle นี้เลยครับพี่น้อง( 02 jul 2009) 
เย้ๆๆๆๆๆๆ

"APU VS GROUND POWER" COST ANALYSIS

ข้อมูลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้APUกับ GPU400 HZและ PC AIR  ของการท่า 

อากาศยานสุวรรณภูมิ  ในช่วงTRANSIT  สำหรับเครื่องบินแบบB734 

       เพื่อให้นักบินในฟลีทB734 ได้มีข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่า ช่วงเวลาtransit ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ควรจะใช้ APU  หรือ GPU 400HZ ของการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  จึงขอนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้ 

 

1.ข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบ 

 - อัตราแลกเปลี่ยน 1USD เท่ากับ 34.2 baht 

 - ค่าน้ำมัน JET A-1 เท่ากับ 80 USD/ barrel (อ้างอิงจากประมาณการราคาน้ำมันของบริษัทในปีนี้) หรือเท่ากับ 

ประมาณ 20 baht/kg 

 - ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงAPU( OVERHAUL) ตามข้อมูลที่ได้จาก TE-P การส่งไปซ่อมที่ศูนย์ซ่อมบำรุงAPUที่ 

สหรัฐอเมริกา มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเท่ากับ 250000 USD โดยอ้างอิงจากการใช้งาน APU จนถึงประมาณ 4000 APU operating hours(Average time on wing)  ดังนั้นจึงตีเป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่ประมาณ 36baht/minute  

 - ค่าใช้จ่ายในการใช้ GPU และ PC AIR ของ การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำหรับเครื่องบินแบบB734 เท่ากับ3300 

baht/60 minutes ( ใช้งานไม่ถึง 60 minutes ก็ต้องเสียเงิน 3300 baht)  

 - ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการ Run เครื่องยนต์รอการ connect GPU ประมาณ หนึ่งนาที   โดยอ้างอิงจาก low idle fuel 

consumption at 326 kg/hour/engine หรือเท่ากับ 5.4 kg /minute/engine คิดเป็นเงินเท่ากับ 108 baht/minute/engine 

 - ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ APU อ้างอิงจาก APU fuel consumption on ground ที่ 105 kg/hour (1.75 

kg/minute) เท่ากับ 35 baht/minute 

 

2.ข้อมูลที่ไม่นำมาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบ 

 - ประสิทธิภาพของGPU และ PC AIR ของ การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 

 - นโยบายเกี่ยวกับ Noise pollution ของการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 

 - ความไม่สะดวกต่างๆอันเกิดจากการใช้ GPU และ PC AIR 

 - ค่าใช้จ่ายแปรผัน ของ Line maintenance ในการซ่อมบำรุงAPU 

  

3.นำเสนอการเปรียบเทียบ โดยแยกออกเป็น 3 Scenario  

- ทุกscenario มีกรอบเวลาในการพิจารณาเท่ากัน โดยจะเริ่มต้นจาก 1นาที ก่อนเข้าจอดที่หลุมจอด จนกระทั่ง 

  ประมาณ 5 นาทีก่อนจะ start APU อีกครั้งสำหรับใช้ในการ Start engines 

- Transit  time  45 minutes  

 

     3.1  First scenario 

-  2 engines running, approximately 1 minute before stopping the aircraft at the bay = 216 baht       

- At the bay, shut down 1 engine 

- 1 engine still running due to 1 minute waiting  for GPU connect = 108 baht 

- GPU and PC AIR connected 

- Shut down the remaining engine 

- Use ground power for approx 45 minutes = 3300 baht 

-  ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 3624 baht 

 

     3.2  Second scenario

 

- 2 engines running ,approximately 1 minute before stopping the aircraft at the bay = 216 baht       

- Approximately 1 minute before stopping  the aircraft at the bay, start APU =35 baht 

- At the bay, shut down both engines  

- APU still running due to waiting  for GPU connect approximately 1 minute  = 35 baht 

- GPU and PC AIR connected 

- Shut down APU 

- ค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุง APU (ใช้งาน 2 นาที ) = 72 baht 

- Use ground power for approx 45 minutes = 3300 baht 

- ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 3658 baht 

 

     3.3  Third scenario 

      -  2 engines  running , approximately 1 minute before reaching the bay = 216 baht       

      -  Approximately 1 minute before reaching the bay, start APU = 35baht 

      -  At parking bay, shut down engines 

      - Continue using APU  for 45 minutes = 1575 baht 

      - ค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงAPU( ใช้งาน 45 นาที) = 1620 baht 

      - ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 3446 baht 

 

4.จากข้อมูลทั้งหมด พอสรุปได้ว่า ทั้งสาม SCENARIO มีค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน   โดย SCENARIO ที่สาม จะมี 

ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เมื่อใช้ข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาตามที่ได้ระบุไว้ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ข้อสรุปดังกล่าวจะ 

ถูกต้องเสมอไป เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ค่าใช้ 

บริการGPU ของการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ค่าใช้จ่ายในOVERHAUL APU รวมไปถึงค่าใช้จ่ายแปรผันของ Line 

maintenanceในการซ่อมบำรุงAPU มาใช้ในการพิจารณา  

 

5.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ APU 

 - APU มีไว้สำหรับเป็น Backup source ในกรณีฉุกเฉินด้วย ดังนั้นจึงควรพิจารณาก่อนใช้งานทุกครั้ง หากใช้งานโดย ไม่จำเป็น ย่อมเกิดการสึกหรอ เมื่อถึงเวลาจำเป็นจริงๆ อาจจะไม่สามารถใช้งานได้  

 - APU เป็นเครื่องยนต์ Gas turbine ชนิดหนึ่ง เมื่อเราทำการ start APU บ่อยๆ และใช้งานหนักในสภาพอากาศร้อน 

อย่างในประเทศไทย จะสึกหรอและเสียหายได้ง่าย เนื่องจาก High EGT 

 - อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของAPU จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ APU operating hours มากขึ้น 

 - การใช้งาน APU BLEED พร้อมกับเปิด pack ตัวเดียว สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเปิด pack สองตัว ประมาณ 

7kg/hour  

 - ปัจจุบันนี้ เรามี Spare APU อยู่ 5ตัว  

 - APU ตัวที่มี  Operating hours มากที่สุดตั้งแต่ซื้อมาใช้งาน  อยู่กับ HS-TDH (28609 hours)  

-  APU ตัวที่มี Operating hours มากที่สุด นับจากครั้งสุดท้ายที่ถูกส่งไป overhaul อยู่กับ HS-TDJ   ( 4939 hours) 

 - นโยบายการซ่อมบำรุง APU GTCP36-280B รุ่นที่ใช้กับเครื่องบินแบบ B734   จะใช้งานจนกว่าจะเสีย จึงจะส่งไป 

ซ่อม ไม่มีการ OVERHAUL เอง ทำได้อย่างดีที่สุดเพียงแค่ TROUBLESHOOT ด้วยวิธีการลองเปลี่ยนอะไหล่ (LINE 

REPLACEMENT UNITS) ดังนั้นถ้าใช้งานมาก ก็อาจจะต้องส่งซ่อมเร็วขึ้น