วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

delayเพราะ immigration ที่สมุย

ระหว่างรอผู้โดยสารมาขึ้นเครื่องที่สมุย ทางground staff มาแจ้งว่าเริ่มboarding แล้วแต่ติดปัญหาที่ตม. immigration officer มีอยู่สองท่าน แต่ผู้โดยสารต่างชาติที่เข้าคิวรอมีจำนวนมาก ทำให้ต้องdelayไปเกือบสิบนาที เจ้าหน้าที่ที่สมุยแจ้งว่า เป็นอย่างนี้บ่อย โดยเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ครับ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตม.มีสองท่าน มีคนใหม่อย่างน้อยหนึ่งท่าน ซึ่งยังไม่ชำนาญงาน ทำให้เกิดความล่าช้าบ่อยๆ ทางgroundstaff ต้องแก้ไขโดยการรีบต้อนให้ผู้โดยสารของเราไปเข้าคิวเร็วๆ ก็พอช่วยได้บ้างครับ

WEATHER RADAR เสียทั้งสองsystem INFLIGHT





วันที่21ที่ผ่านมา ผมบินไฟลท์tg288กลับจากสมุย ใช้เครื่อง TDK พอairborneขึ้นมาสักพักหนึ่ง เกิด WEATHER RADAR FAILครับ ตัวradar ไม่show scan pattern เลย ลองอีกsystemนึงก็เสียเหมือนกัน เลยลองรีเซ็ทcbก็ไม่หาย ต้องมองข้างนอกคอยดูสภาพอากาศตลอด โชคดีครับที่ยังพอมองเห็น และอากาศก็ไม่เลวร้ายนัก ถึงแม้จะมีเมฆมากก็ตาม เปิดflightdeck log ดูprevious snags พบว่าเป็นมาหลายรอบแล้ว ช่างลองเปลี่ยน weather radar box ไปแล้วทีนึง แต่ก็ยังเป็นอยู่ ผมลองselect ไปที่test มันขึ้นมาว่า WXR SYS ANT ผมแจ้งช่างผ่านทางoperations และลองถามดูว่ามีเครื่องเปลี่ยนได้ไหม เพราะต้องไปเวียงจันทน์ต่ออีกรอบ operations แจ้งว่า ต้องรอเครื่องจาก 258ที่จะลงตอนสองทุ่มครึ่ง แต่จะแจ้งให้ช่างทราบและลองแก้ไขก่อน พอdescent ลงมาได้สักพักหนึ่ง มันกลับมาทำงานได้ปกติ แสดงว่ามันเป็นๆหายๆ นักบินเลยไม่ได้ลงlog(แย่จัง ไม่ช่วยกันเลย) พอlandingแล้ว ช่างขึ้นมาแจ้งว่า จะเปลี่ยนตัว drive unit ของweather radar ให้ เพราะคาดว่าน่าจะเป็นที่ตัวนี้ เนื่องจากไม่มี scan pattern ก็เลยต้องรอให้เปลี่ยนจนเสร็จ delay departure ไปเกือบครึ่งชั่วโมงครับ ปรากฏว่าแก้ไขถูกจุดครับ ต้องขอบคุณพี่ช่างlicense และทีมงาน ที่กุลีกุจอรีบแก้ไขให้ มากันเพียบเลยครับ ช่วยกันทำ แป๊บเดียวเสร็จ นี่หล่ะครับ ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ ไปด้วยกัน ไปได้ไกล ไชโย TG!!!!!!

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณเป็น ครู แบบนี้หรือไม่


ผมลอกข้อความดังต่อไปนี้มาจากหนังสือชื่อ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารความรู้ ของดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ครับ น่าสนใจมากๆ ลองอ่านดูนะครับ
"ครูส่วนใหญ่ (อาจจะรวมทั้งผมด้วยก็ได้)มักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.ครู คือ ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา มัวแต่สอนคนอื่น ลืมสอนตนเอง อาจจะด้วย หลงตนเอง น้ำเต็มถ้วย ขี้เกียจเรียน ขี้เกียจขวนขวาย เบื่อหน่ายการเรียน ไม่มีเวลา งานประจำ งานราชการเยอะมาก เลี้ยงครอบครัว ไม่มีผู้สนับสนุน ไม่มีนายทุน เจ้านายไม่ส่งเสริม อบรมกันเองในวิทยากรที่คิดแบบครูๆ เราจะไม่ค่อยเห็นครูออกมาอบรมปนกับองค์กรอื่นๆ ครูมี systemic thinking ว่า ไม่มีใครเข้าใจการศึกษาดีเท่ากลุ่มของพวกเขาเอง หรือ การศึกษาเป็นเรื่องละเอียด ผลิตเด็กไม่ใช่ผลิตสินค้า จึงวนเวียนสอนกันในวงการของตนเอง


2.คนอื่นได้ดี แต่ตนเองย่ำแย่ สิ่งที่สอนคนอื่นตนเองทำไม่ได้ คนอื่นฟังแล้วเอาไปทำจนเก่งกว่าตนเอง สอนลูกคนอื่นได้ดี แต่สอนลูกตนเองไม่ได้ เอาเวลาไปให้โรงเรียนให้งาน จนสอนลูกตนเองไม่ได้ หรือไม่ก็โมโหลูกตนเองจนสอนไม่ได้ หรือเหนื่อยหมดแรงกลับมาบ้านอยากจะพักไม่อยากสอนใครอีกแล้ว สอนมาทั้งวันแล้วไม่ไหวแล้ว สังเกตพวกฝ่ายฝึกอบรมในองค์กรไหม เป็นแก้วกาแฟที่ไม่รู้รสชาติของกาแฟเลย มีวิทยากรดีๆก็ไม่ตั้งใจฟัง วิ่งเข้าๆออกๆฟังก็ไม่รู้เรื่อง เทปก็ไม่อัดไว้ ถึงอัดไว้ก็ไม่เปิดฟัง อยู่ท่ามกลางการเรียนการสอน แต่ตนเองไม่เรียนไม่สอน


3.นึกว่าตนเอง เป็นพระเจ้าในห้องเรียน หลงตนเอง นึกว่าตนเองเป็นพระเอก นางเอกของห้อง เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง แทนที่จะเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


4.โรคคุณครูทำไว้ ......กว่าจะถึงองค์กร ก็สายเสียแล้ว ครูไม่สามารถสอนให้เด็กรู้จัก learn how to learn เพราะ ติดนิสัยคุณแม่ที่แสนดี ปกป้องเกินเหตุ(over protection) คือครูขยันค้นมาให้ สรุปมาให้ จนเด็กคิดเอง ค้นเองไม่เป็น ครูสร้างโจทย์แบบไม่มีในโลก โจทย์แบบบอกอะไรมาให้ทุกอย่าง ซึ่งในชีวิตจริงไม่มีใครให้ข้อมูลมากขนาดนั้น ครูไม่สอนให้เด็กสร้างโจทย์เอง ออกไปหาปัญหาแล้วกลับมาค้นคว้าแก้ปัญหา(แบบproblem solving) บัณฑิตที่ผ่านการเรียนการสอนผิดพลาดแบบนี้ ถ้าหลุดไปที่องค์กรใดที่ไม่มีระบบ LO &KM ที่ดีรองรับ ก็คงจะเสียเวลา เสียเงิน ได้พนักงานที่ไม่มีคุณภาพไปใช้งานครับ"

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Forward mail ในaccount บริษัท ไปยังmail account อื่น ที่เราต้องการ

ได้ข้อมูลที่ดีๆอันนี้มาจากพี่กิจ Capt. Worakit ขอบคุณมากครับ ลองไปทำกันดูนะ จะได้หมดปัญหาเรื่องไม่ได้รับข้อมูลจากบริษัทเสียที






ประชุม ATT INSTRUCTOR


ครูอิก B0734 และครูปุ๋ย BO-B734 นัดประชุมตามวาระเพื่อสรุปผลการเรียนการสอนATT รุ่นล่าสุดครับผม

บรรยากาศดี เต็มไปด้วยความเข้าใจ และมีการแสดงความคิดเห็นจากทุกคน
ชี้กันให้เห็นชัดๆ
เม้าท์ลูกศิษย์

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โมเดล KERIS รูปแบบใหม่แห่งการเรียนรู้แบบEDUNET


อ่านจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เจอบทความเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ICTเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน และยังทำให้สนุกอีกต่างหาก เข้าทำนองที่ว่า ทั้ง PLAYและLEARN รวมกันเป็น"เพลิน"นั่นเอง

ถ้าบ้านเราได้อย่างนี้บ้างก็ดีนะครับ......................................


จะดีแค่ไหนหากความรู้มีอยู่ทุกที่และเกร็ดความรู้ดีๆ ก็ไม่ได้มีเฉพาะในโรงเรียน ไม่ต้องจินตนาการไปไหนไกล เพราะที่เมืองไทยก็เกิดขึ้นแล้วด้วยพลังแห่ง "ไอซีที"

ดูเหมือนว่า "กิมจิโมเดล" จะกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาประเทศไทยในหลายๆ มิติไปเสียแล้ว ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมคิดจะเลียนโมเดลส่งออกสินค้าวัฒนธรรมผ่านซีรีส์ที่สะท้อนความเป็นไทยแท้ๆ อย่างละคร "สี่แผ่นดิน" และ "นายขนมต้ม" ที่เตรียมโปรเจครีเมคใหม่เป้าหมายเพื่อการส่งออกให้โด่งดังไม่แพ้แดจังกึม จอมนางผู้ยึดครองหัวใจของคนไทยแทบทั้งประเทศ

ล่าสุดกับหน่วยงานเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยอย่าง สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ก็ได้มีความคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีด้านไอซีที มาผนวกสื่อการเรียนการสอนแก่เยาวชน โดยอิงโมเดลของ ‘KERIS’ (แคริสต์) สำนักงานบริการข้อมูลวิจัยภาคการศึกษาของเกาหลี องค์กรอิสระที่ปฏิรูปการศึกษาแดนกิมจิ ทำให้ความรู้ไม่อยู่แค่ในตำราอีกต่อไป โดยนำเอาไอซีทีมาเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตนเอง ผ่านอุปกรณ์ที่ทันสมัย ด้วยวิธีการเรียนการสอนที่ผ่อนคลาย และ ไม่ทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าถูกบังคับให้เรียน

โลกเรียนรู้อยู่ในทุกที่

‘KERIS’ โมเดลต้นแบบซึ่งทีมงาน สสค. เดินทางไปดูงานถึงถิ่นเกาหลีนั้น โดดเด่นที่การนำเอาไอซีทีมาเพิ่มลูกเล่นในการเรียนการสอนได้อย่างน่าสนใจ นัยว่า ตัวเด็กเองสนุกไปกับการเรียนจนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้ต้องเรียน โมเดลที่ KERIS ดำเนินการอยู่ มีสองเรื่อง หนึ่งคือ 'Edunet' กับแนวคิด "โลกเรียนรู้อยู่ในทุกที่" โดย Edunet เป็น web portal รวบรวมแหล่งข้อมูลความรู้ด้านการเรียนการสอน ก่อนกระจายความรู้ไปสู่ทุกคนผ่านทางเว็บไซต์ www.edunet4u.net ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาหาความรู้พร้อมกัน ได้ทุกที่ทุกเวลา

ปัจจุบันมีผู้เข้าไปใช้งานเว็บไซต์ Edunet ถึง 5.9 ล้านคน เป็นนักเรียนชั้นประถม 11 เปอร์เซ็นต์ นักเรียนมัธยมต้น 20 เปอร์เซ็นต์ นักเรียนมัธยมปลาย 20 เปอร์เซ็นต์ ครูและผู้ปกครอง 14 เปอร์เซ็นต์

บริการยอดนิยมของ Edunet คือ ระบบการเรียนรู้ออนไลน์จากที่บ้าน (Cyber Home Learning System) โดยครูผู้สอนทั้ง "ครูมืออาชีพ" อย่างคุณครูกว่า 6 หมื่นคนที่อาสาสมัครมาเตรียมบทเรียนและสอนออนไลน์ โดยมีรัฐบาลเพิ่มแรงจูงใจด้วยสวัสดิการพิเศษ เช่น ได้เลื่อนขั้น เพิ่มเงินเดือน หรือ เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี "ครูอาสาสมัคร" ได้แก่ ผู้ปกครองที่เข้ามาใช้งานในระบบจนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งจาก KERISให้ทำการสอนผ่านระบบออนไลน์ได้

นอกจาก KERISจะใช้ Edunet เป็นเหมือนที่ปรึกษาทางไกลที่จะคอยให้ความรู้แก่นักเรียนทุกคนแล้ว KERIS ยังทำให้การเรียนในห้องเรียนไม่น่าเบื่อด้วยการจำลองห้องเรียนแบบใหม่ที่รวมเอาระบบการเรียนการสอนกับระบบไอซีทีเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า ‘ยูคลาส’ (U-class) นำผู้เรียนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ผ่านตัวการ์ตูนที่ปรากฏอยู่ในหน้าจอแอลซีดีหน้าห้องเรียนด้วยระบบ 3 มิติ

จอแอลซีดีที่เป็นเสมือนกระดานดำ เพิ่มความไฮเทคด้วยการเช็คชื่อผ่านบัตรสมาร์ทการ์ดที่เสียบเข้าไปในเครื่องอ่านที่ติดตั้งอยู่บนโต๊ะทุกตัว คือความตื่นตาที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้นและเกิดจินตนาการ

ที่ห้องเรียนของเด็กประถม 5 และ ประถม 6 โรงเรียนประถมยงฮี เด็กๆ จะเรียนผ่านคอมพิวเตอร์จอสัมผัสขนาดเล็ก (Tablet PC) ที่สามารถพิมพ์ข้อความด้วยแผงปุ่มกดหรือใช้ปากกาที่ติดมากับเครื่องจิ้มหน้าจอเพื่อเลือกเมนูต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ขณะที่หน้าชั้นเรียนจะมีจอทีวีระบบสัมผัสขนาดใหญ่แสดงเนื้อหาที่ครูสอน ผ่านการซิงค์ข้อมูลกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเด็กๆ

ผลลัพธ์สำคัญของ KERIS ก็คือ นักเรียนทุกคนในประเทศเกาหลีใต้สามารถเข้าไปใช้ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ได้จากที่บ้านได้ ถือเป็นการลดช่องว่างด้านการศึกษาระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กชานเมืองและลดภาระค่าเรียนพิเศษแก่ผู้ปกครอง



วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

BIOFUEL article from FC SINNOP T.

Boeing sees the US military’s ambitious biofuel target of 50% usage by 2016 as a positive for the aviation industry and not a threat. Addressing media at last month’s Farnborough Airshow in the UK, MD-Environmental Strategy Billy Glover told this newsletter that the US military is a valuable cornerstone partner.

Some have expressed concern that with a 50% target driven more by strategic goals than environmental ones, the supply of biofuel for commercial aviation would be constrained, with the industry not getting credit for its pioneering work in the field. While conceding that the US Air Force and US Navy biofuel targets are ambitious, Glover said the biofuel processing industry needs the military as “an anchor tenant” to lower the risk for producers. “The target is very aggressive but it sends a message that they are serious about biofuel. Producers [should] see this as a golden goose.”

The Navy's ambitious goals go well beyond fueling its aircraft through a partnership with the Dept. of Agriculture in an initiative to convert the naval fleet to biofuel, reducing dependence on foreign oil as well as greatly lowering reliance on fossil fuels for ground installations and transport.

Responding to a further question on the role of governments in regulating the biofuel industry, Glover said governments should and will get involved in distribution. “Eventually governments must get involved but we must get through the deployment phase of biofuels. We are working with the Chinese government to regulate the industry and they see it as a high priority,” he said. He explained that there will be different approaches around the world with lots of room for variation. On the “around the world” theme, he said Boeing is participating in a variety of regional biofuel projects across the globe with "very strong investment that gives us a lot of confidence."

He is not, however, bullish on the possibility that aviation biofuels will be in broad use by 2020, estimating that airlines will source only around 2% of their requirements from biofuels. He is far more upbeat about 2050, suggesting “a large amount" will be in use. There is, of course, a qualifying factor to investment; “As we emerge from the financial crisis, investment should increase,” he said.

Reflecting on the progress of biofuels, he added: “Five years ago, drop-in biofuel for aviation was impossible. Four years ago it was unlikely. Three years ago we thought maybe there's something here but now we've got through most of the technical barriers. We are really ahead of where anybody could have predicted."

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

home coming home โรงเรียนนายเรืออากาศ





มีโอกาสได้กลับไปเยี่ยมสถาบันเก่า โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง มีรูปมาฝากด้วยครับ




อาคารรณภากาศ สโมสรนักเรียนนายเรืออากาศหลังเก่า ตอนนี้ใช้เป็นสถานที่จัดเลี้ยงทั่วไปด้วยครับ

บรรดาศิษย์เก่าครับ หัวหน้ากุ้ง กัปตันสุด และ กัปตันโบ




เติมเชื้อเพลิงใส่ท้องก่อนครับ ประกอบไปด้วย ปาท่องโก๋ ซาลาเปา อิ่มกันไปพักใหญ่





ออกสำรวจบริเวณรอบโรงเรียน เพราะไม่ได้เข้าไปโรงเรียนนานมากแล้วครับ รูปนี้เป็นอาคารสโมสรนักเรียนหลังใหม่ เพิ่งสร้างเสร็จ ตั้งอยู่ระหว่างอาคารนอน1 กับ อาคารรณนภากาศ


เครื่องบินลำเดิมที่บริเวณลานรวมพลหน้าโรงเรียน ศิษย์เก่าทั้งหลายจำได้มั๊ยเอ่ย เครื่องบินแบบอะไร ตอบได้ให้10บาทจ้า



รูปปั้นบุพการีกองทัพอากาศทั้งสามท่าน อยู่หน้ากองบัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ



อีกมุมนึงของอากาศรณนภากาศ ถ่ายจากด้านหน้าอนุสาวรีย์บุพการีกองทัพอากาศ เห็นเครื่องบินอยู่หน้าตึกรณภากาศ



ลานทดสอบกำลังกายกำลังใจ บริเวณข้างโรงยิมด้านหลังโรงเรียนครับ เห็นก็เหนื่อยแล้ว



สมัยก่อน เสียเหงื่อไปเยอะกับไอ้เจ้านี่แหละ เห็นแล้วก็คิดถึงเพื่อนๆครับ เคยเหนื่อยกันมา



อันนี้เป็นลานรวมพลหน้าอาคารนอน2 แต่ก่อนมันเป็นลานหินก้อนเล็กๆ เคยเอาหัวปักมาแล้วหลายที ยังรู้สึกถึงความเจ็บปวดได้เลย ตอนนี้มันลาดปูนไปแล้วครับ

ลานรวมพลอีกครั้งครับ ช่วงกลางวันยังปลอดคนอยู่





ถนนสายกลางถ่ายจากทางเดินหน้าอาคารtank farm(โรงอาหารนักเรียน) เข้าไปหาอาคารนอน5 หลังเก่า ซึ่งตอนนี้กลายเป็นอาคารกองวิชาทหารไปแล้วจ้า ถนนสายกลางเนี่ย นักเรียนนายเรืออากาศจะรู้จักกันดีว่า เป็นทางเสืือผ่านเท่านั้น เดินได้เฉพาะชั้นปีที่5 ชั้นอื่นห้ามแหยม ไม่งั้นถูกลงโทษแหงมๆ ผมเคยถูกสั่งให้วิ่งผ่านเส้นนี้แหละ วิ่งเปิดหวอไปเลย พี่เค้าบอกให้วิ่งไปได้ ไม่งั้นถูกกักบริเวณแน่ๆ รอดไปได้คราวนั้น ไม่มีใครว่าอะไร จะสังเกตุเห็นว่า เค้าทาสีพื้นถนน ทำเหมือนรันเวย์เลย เก๋เชียว



อาคารกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ สถานที่ทำงานของบรรดานายทหารปกครอง ถ้ำเสือตัวจริงเสียงจริง

เครื่องบิน หน้าอาคารนอน1ครับผม จำไม่ได้ว่าเครื่องแบบไหน แย่จังเลย ใครรู้บ้างบอกหน่อย



ภายในอาคารสโมสรนักเรียนครับผม กัปตันสุดมายืนเกะกะหน้ากล้อง ลบออกไม่ได้หง่ะ ตั้งใจจะถ่ายข้างหลังมากกว่า 555555





ครูจ๋อ ครูต๊ะ พี่ไมค์ ยืนโชว์หุ่นอันสะโอดสะอง หน้าป้ายเกียรติยศ รายชื่อหัวหน้านักเรียนนายเรืออากาศแต่ละรุ่น



ตามนั้นเลยครับ



รู้มั๊ย ชื่อใคร



BIG NAME


จบแล้วจ้า ดีใจมากๆเลยที่ได้กลับไปเยี่ยมโรงเรียนอีกครั้งครับผม

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

THAI ซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-300 จำนวน 7 ลำ

THAI ซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-300 จำนวน 7 ลำ
WEDNESDAY, 11 AUGUST 2010 16:32
รายงานข่าวจาก บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน)หรือ THAI แจ้งว่า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553 นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้แทนบริษัทฯ ลงนามในสัญญาการจัดหาเครื่องบิน แอร์บัส (Aircraft Acquisition Agreement) เอ 330-300 จำนวน 7 ลำ

นายปิยสวัสดิ์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะทยอยรับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-300 จำนวน 7 ลำ ตั้งแต่ปลายปี 2554 ไปจนถึงต้นปี 2556 ทั้งนี้ เป็นไปตามโครงการจัดหาเครื่องบินปี 2553 – 2557 ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 เห็นชอบให้บริษัทฯ ดำเนินโครงการ จัดหาเครื่องบิน โดยโครงการนี้จะจัดหาเครื่องบินทั้งหมดจำนวน 15 ลำ ประกอบด้วย

1. การจัดหาเครื่องบินภูมิภาค ขนาดความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ โดยวิธีเช่าทางการเงิน (Financial Lease) ได้แก่ เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 330 –300

2.การจัดหาเครื่องบินข้ามทวีป ขนาดความจุประมาณ 350 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ โดยวิธีเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นระยะเวลา 10-15 ปี ได้แก่ เครื่องบินแบบโบอิ้ง 777 – 300 ER

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะทยอยรับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-300 จำนวน 7 ลำ ตั้งแต่ปลายปี 2554 โดยเครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินพิสัยไกลขนาด 300 ที่นั่ง และจะนำมาให้บริการในเส้นทางสู่เมืองดูไบ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัทฯ เชื่อว่าการสั่งซื้อเครื่องบินดังกล่าว จะสร้างความมั่นใจให้กับการบินไทย ในการเพิ่มเครือข่ายเส้นทาง และศักยภาพของฝูงบิน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของฝูงบิน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการมีส่วนร่วมลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

ข่าวจากหนังสือพิมพ์ กระแสหุ้น

เรื่องราวดีๆ...จากเจ้าของบริษัทที่ยิ่งใหญ่

เรื่องราวดีๆ...จากเจ้าของบริษัทที่ยิ่งใหญ่

(ถ้าขี้เกียจอ่าน บทเฉลยอยู่ตรงท้าย..รับรองถ้ารู้แล้ว คงอยากอ่านแน่ๆ)

ฉันเกิดในหมู่บ้านบนภูเขาที่ห่างไกลผู้คน

แต่ละวันพ่อแม่ของฉันต้องพรวนดินในไร่ท่ามกลางแดดที่ร้อนระอุ

ฉันมีน้องชายอยู่หนึ่งคน อายุน้อยกว่าฉัน 3 ปี

วันหนึ่งฉันขโมยเงินของพ่อเพื่อไปซื้อผ้าเช็ดหน้าที่เพื่อนๆ

ของฉันมีกัน จากนั้นพ่อก็รู้เรื่อง

พ่อให้ฉันกับน้องคุกเข่าหันหน้าเข้าหากำแพง

โดยที่ในมือพ่อมีก้านไม่ไผ่อยู่หนึ่งก้าน

"ใครขโมยเงินไป" พ่อตวาด

ฉันกลัวมาก ไม่กล้าพูดอะไรออกไป น้องชายฉันก็เช่นกัน

พ่อจึงเอ่ยขึ้นว่า

" ก็ได้ ในเมื่อไม่มีคนรับสารภาพก็ต้องโดนลงโทษทั้งคู่นั่นล่ะ"

พ่อชูก้านไม้ไผ่ในมือขึ้น

ทันใดนั้น น้องชายของฉันก็ลุกขึ้นคว้าข้อมือของพ่อไว้....แล้วพูดว่า

"ผมขโมยเองครับ"

ก้านไม้ไผ่ก้านนั้นได้กระหน่ำลงบนหลังของน้องของฉันอย่างต่อเนื่อง

พ่อโกรธมาก พ่อตีน้องของฉันไม่หยุด

จนพ่อหอบด้วยความเหนื่อย

พ่อนั่งลงบนเก้าอี้

และด่าว่าน้องชายของฉัน

" ของคนในบ้านแกเอง แกยังขโมยได้ต่อไปแกจะทำชั่วอะไรอีก

แกน่าจะโดนตีให้ตาย ไอ้หัวขโมย"

คืนนั้น ฉันกับแม่กอดน้องชายของฉันไว้

หลังของน้องมีแผลเต็มไปหมด

แต่เขาไม่ได้ร้องไห้แม้แต่น้อย

กลางดึกคืนนั้น ฉันนอนร้องไห้เสียงดัง และนานมาก

น้องเอามือเล็กๆ ของเขามาปิดปากฉันไว้ แล้วพูดว่า

" พี่ครับ ไม่ต้องร้องไห้นะมันผ่านไปแล้ว"

ยังไงฉันก็อดที่จะเกลียดตัวเองไม่ได้

ที่ไม่มีความกล้าจะบอกความจริงกับพ่อ

หลายปีผ่านไป

แต่เหมือนกับว่าเหตุการณ์มันเพิ่งเกิดเมื่อวานนี้เอง

ฉันไม่อาจลืมคำพูดของน้องชายตอนที่เขาปกป้องฉันได้เลย

ตอนนั้นน้องของฉันอายุ 8ปี ส่วนฉันอายุ 11ปี...

เมื่อตอนที่น้องชายของฉันใกล้จบ ม.ต้น

เขาได้รับการตอบรับจากโรงเรียน

ม.ปลาย ว่าเขาสอบได้ ในขณะที่ฉันซึ่งใกล้จบ ม.ปลาย

ก็ได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยของจังหวัดเช่นกัน

คืนนั้น พ่อได้นั่งสูบบุหรี่อยู่ที่สวนหลังบ้าน

ฉันแอบได้ยินพ่อพูดว่า

" ลูกเราทั้งคู่เรียนดีเรียนดีมากนะ"

แม่ซึ่งนั่งเช็ดน้ำตาอยู่ข้างๆ พ่อ ได้พูดว่า

" แล้วเราจะส่งเสียลูกทั้งคู่ได้อย่างไรในเมื่อเราก็ไม่ค่อยมีเงิน"

ทันใดนั้น น้องชายของฉันได้เดินเข้าไปหาพ่อ แล้วพูดว่า

" ผมไม่ต้องการเรียนต่อผมอ่านหนังสือมามากพอแล้ว"

พ่อเหวี่ยงมือตบลงที่แก้มของน้องของฉันฉาดให ่

" ทำไมถึงคิดโง่ๆ อย่างนี้

ต่อให้พ่อต้องไปเป็นขอทานข้างถนน

พ่อก็จะส่งแกทั้งคู่เรียนจนจบให้ได้"

คืนนั้นทั้งคืน พ่อได้เดินไปตามบ้านต่างๆ

ทั่วทั้งหมู่บ้าน....เพื่อขอยืมเงิน

ฉันค่อยๆ เอามือประคบแก้มบวมๆ

ของน้องชายเบาๆ และคิดว่า

" ต้องให้น้องได้เรียนต่อไม่เช่นนั้นเขาคงไม่อาจหลุดพ้นชีวิตลำบากเช่นนี้ไปได้"

แต่ในขณะเดียวกัน

ฉันก็ไม่อาจล้มเลิกความคิดอยากจะเรียนต่อไปได้

ใครจะรู้ได้ .......


วันต่อมาในตอนเช้ามืด

น้องชายของฉันได้ออกจากบ้านไปพร้อมทั้งเสื้อผ้าติดตัวเพียงไม่กี่ชิ้น

และถั่วเพียงเล็กน้อยเพื่อประทังความหิว

ก่อนไปเขาได้ทิ้งข้อความไว้ใต้หมอนของฉัน

ขณะฉันกำลังหลับ

" พี่ครับ การจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ ไม่ใช่ง่ายๆ นะ ....

ผมจะไปหางานทำ...แล้วจะส่งเงินมาให้พี่"

ฉันนั่งอยู่บนเตียง

อ่านข้อความของน้องชายด้วยน้ำตานองหน้า .......

ฉันร้องไห้จนเสียงแหบแห้งไป

ตอนนั้นน้องของฉันอายุ 17 ปี ส่วนฉันอายุ 20 ปี .....

ด้วยเงินที่พ่อยืมมาจากคนในหมู่บ้าน

รวมกับเงินที่น้องชายของฉันได้รับเป็นค่าจ้างมาจากการทำงานเป็น

กรรมกรแบกหามที่ไซท์ก่อสร้างท่าเรือ .......

ฉันจึงสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้จนถึงปี 3

วันหนึ่งขณะที่ฉันกำลังอ่านหนังสืออยู่ในห้องพัก

เพื่อนร่วมห้องของฉันได้เข้ามาบอกว่า

"มีชาวบ้านมาหาเธอ...อยู่ข้างนอกแน่ะ"

ทำไมชาวบ้านถึงมาหาฉันล่ะ ???

ฉันเดินออกไปแล้วมองเห็นน้องชายของฉันยืนอยู่

ตัวของเขาเปรอะเปื้อนไปด้วยฝุ่นปูนและทรายจากงานก่อสร้าง

...
ฉันถามเขาว่า

"ทำไมไม่บอกเพื่อนพี่ไปว่าเป็นน้องชายพี่ล่ะ"

น้องชายของฉันตอบยิ้มๆ ว่า

" ก็ดูผมสิสกปรกมอมแมมออกอย่างนี้...ขืนบอกว่าเป็นน้องพี่ เพื่อนๆ

ก้อได้หัวเราะเยาะพี่กันพอดี"

ฉันค่อยๆ เอื้อมมืออันสั่นเทาไปปัดฝุ่นให้น้อง

และพยายามพูดด้วยเสียงเครือๆในลำคอ

" พี่ไม่สนใจว่าใครจะพูดยังไง
เธอเป็นน้องของพี่ ไม่ว่าเธอจะดูเป็นอย่างไรก็ตาม"

จากนั้น น้องของฉันได้ล้วงบางอย่างออกมาจากกระเป๋ากางเกง

เป็นกิ๊บหนีบผมรูปผีเสื้อ . เขาติดกิ๊บให้ฉัน
แล้วพูดว่า

" ผมเห็นสาวๆ ในเมืองเค้าติดกัน ผมเลยอยากให้พี่ติดบ้าง"

ฉันหมดเรี่ยวแรงลงในทันใด

ดึงน้องชายเข้ามาสวมกอดและร้องไห้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานาน
ตอนนั้นน้องของฉันอายุ 20 ปี ส่วนฉันอายุ 23 ปี .

วันที่ฉันพาแฟนหนุ่มของฉันมาที่บ้านเป็นครั้งแรก

ฉันสังเกตเห็นว่า

หน้าต่างบ้านที่เคยแตกไป ได้ถูกซ่อมเรียบร้อยแล้ว

เมื่อเข้าไปในบ้านก็เห็นว่าบ้านสะอาดขึ้นมาก

หลังจากที่แฟนของฉันกลับไป ฉันพูดกับแม่ว่า

"แม่ไม่ต้องเสียเงินเพื่อทำความสะอาดบ้านกับซ่อมกระจก

เพียงเพราะหนูจะพาแฟนมาที่บ้านหรอกนะคะ"

แม่ยิ้ม แล้วพูดว่า

" แม่ไม่ได้จ้างหรอก...น้องชายลูกต่างหาก

วันนี้เค้าขอเลิกงานเร็วเพื่อกลับมาทำความสะอาดบ้าน

ลูกยังไม่เห็นมือน้องหรอกเหรอ

น้องโดนกระจกบาดตอนกำลังเปลี่ยนกระจกบานใหม่น่ะ"

ฉันรีบเข้าไปหาน้องที่ห้องนอนของเขา

ฉันรู้สึกเหมือนถูกเข็มนับร้อยเล่มทิ่มลงกลางใจเมื่อได้เห็นบาดแผลบนมือ

ฉันจับมือน้องเอาไว้อย่างเบามือที่สุด " เจ็บมากไหม"

ฉันถาม

"ไม่เจ็บสักหน่อย พี่ก็รู้นี่ผมทำงานก่อสร้างนะ วันๆ
มีหินตกมาใส่เท้าผมเต็มไปหมด
แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ผมคิดเลิกทำงานหรอกนะ

และ..."

น้องชายของฉันยังพูดไม่จบประโยค แต่ก็ต้องหยุดพูด

เพราะฉันหันหน้าหนีเขา

น้ำตาไหลอาบหน้าของฉันอีกครั้ง

"เพราะพี่เป็นพี่สาวของผมนี่ครับ"

ตอนนั้นน้องของฉันอายุ 23 ปี ส่วนฉันอายุ 26 ปี...

หลังจากนั้น ฉันก็ได้แต่งงานและย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง

หลายครั้งที่สามีของฉันชักชวนให้พ่อแม่ของฉันย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองด้วยกัน...

แต่ท่านทั้งสองก็ปฏิเสธ

ท่านบอกว่า ท่านเคยย้ายออกจากหมู่บ้านครั้งหนึ่ง
แต่เมื่อออกไปแล้ว

ท่านไม่รู้จะทำอะไรดี

จึงได้ย้ายกลับเข้ามาใช้ชีวิตในหมู่บ้านตามเดิม

น้องชายของฉันก็ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เขาและพ่อแม่ย้ายออกไป ...

เขาบอกกับฉันว่า

"พี่คอยอยู่ดูแลพ่อและแม่ของสามีพี่ทางนั้นเถอะผมจะดูแลพ่อและแม่ทางนี้เอง"

สามีฉันได้ขึ้นเป็นประธานของบริษัทของ ครอบครัว

เราทั้งคู่อยากให้น้องชายของฉันเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการบริษัท

...
แต่น้องชายของฉันก็ไม่รับตำแหน่งนี้

เขาขอเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานธรรมดา

วันหนึ่ง น้องชายของฉันต้องปีนบันไดขึ้นไปซ่อมสายเคเบิล

และตกลงมาเพราะโดนไฟดูด
เขาถูกรีบหามส่งโรงพยาบาล

ฉันและสามีรีบไปเยี่ยมเขาที่โรงพยาบาล

น้องชายของฉันขาหักต้องเข้าเฝือกที่ขา

... ฉันโกรธมาก จึงตวาดน้องไปว่า

" ทำไมถึงไม่ยอมรับตำแหน่งผู้จัดการ หา!!!

ถ้าเป็นผู้จัดการก็จะได้ไม่ต้องมาทำงานเสี่ยงๆอย่างนี้

ดูตัวเองซิ...เจ็บเจียนตายอยู่แล้ว ทำไมถึงไม่ยอมฟังพี่บ้าง"

คำตอบจากปากน้องของฉันรวมถึงสีหน้าเคร่งเครียด

ยังยืนยันความคิดเดิมของเขา

"พี่ลองคิดถึงพี่เขยสิครับ พี่เขยเพิ่งจะได้เป็นประธาน

ส่วนผมมันการศึกษาต่ำถ้าผมได้เป็นผู้จัดการ

คงจะมีเสียงนินทาว่าร้ายเต็มไปหมด"

น้ำตาปริ่มดวงตาของฉันรวมทั้งสามีของฉันด้วย .....

ฉันบอกกับน้องว่า
" แต่ที่เธอไม่ได้เรียนต่อก็เพราะพี่..."

"ทำไมต้องพูดถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้วด้วยล่ะครับ"

น้องชายของฉันจับมือฉันไว้

ตอนนั้นน้องของฉันอายุ 26 ปี ส่วนฉันอายุ 29 ปี...

เมื่อน้องชายของฉันอายุได้ 30 ปี

เขาได้แต่งงานกับผู้ห ญิงในที่ทำงานที่เดียวกัน

ในงานแต่งงาน ประธานในงานได้ถามน้องชายของฉันว่า

" ใครคือคนที่คุณรักที่สุดในชีวิตนี้"

น้องชายของฉันตอบอย่างไม่ลังเล " พี่สาวของผมครับ" .....

และเขาก็เล่าเรื่องราวที่แม้แต่ฉันยังจำไม่ได้

"ตอนผมอยู่โรงเรียนประถม โรงเรียนอยู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง

เราสองคนพี่น้องต้องใช้เวลาถึง 2 ชม.

เพื่อเดินไปเรียน...และเดินกลับบ้าน

วันหนึ่งในวันที่หิมะตกหนักผมทำถุงมือหายไปข้างหนึ่ง

พี่สาวผมจึงได้ให้ถุงมือของเธอข้างหนึ่ง

และเธอก็ใส่ถุงมือเพียงข้างเดียวเดินเป็นระยะทางไกล

เมื่อเรากลับถึงบ้านมือเธอบวมแดงเพราะอากาศหนาว

เธอไม่สามารถจับช้อนทานข้าวได้ด้วยซ้ำ ....... นับจากวันนั้น

ผมสาบานกับตัวเอง

ว่าตลอดชีวิตของผม ผมจะดูแลพี่สาวของผมให้ดี

และจะทำดีกับเธอ"

เสียงปรบมือดังกึกก้องไปทั่ว

สายตาทุกคู่ของแขกเหรื่อหันมาจับจ้องที่ฉัน

คำพูดจากปากฉันออกมาอย่างยากลำบาก .......

"ในโลกใบนี้คนเดียวที่ฉันรู้สึกขอบคุณที่สุด คือน้องชายของฉันค่ะ"

ในวาระที่มีความสุขที่สุดเช่นนี้

น้ำตาได้รินไหลออกมาจากสองตาของฉันอีกครั้ง...

จงรัก และห่วงใยคนที่คุณรักในทุกๆ

วันในชีวิตของคุณและเขา

คุณอาจจะคิดว่าสิ่งที่คุณทำให้ใครสักคนเป็นเพียงสิ่งเล็กๆน้อยๆ

แต่สำหรับคนคนนั้นอาจจะมีความหมายมากอย่างคาดไม่ถึง

.. ไม่ว่าเขาคนนั้นจะคือ

พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ คนรัก เพื่อน

หรือแม้คนที่คุณไม่รู้จัก ก็ตาม

จบบริบูรณ์....


ปล.ปัจจุบันผู้เป็นพี่สาวอายุ 86 ปีตำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารให้บริษัทฮุนไดและในเครือกว่า 20 บริษัท

น้องชายอายุ 83 ปีเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเล็กๆ ที่มีชื่อเป็นภาษาเกาหลีว่า

"ซัมซุง"

และเรื่องราวของท่านทั้ง 2 คนกำลังถูกนำมาสร้างเป็นซี่รี่ย์ โดยดาราเล็กๆ คนคือ ซอง เฮ เคียว และ ลี ดอง ฮุคครับ

ปล. ผมก็อปมาจากwebboard ใน pantip.com/cafe/sinthorn

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรดแมปโลว์คอสต์บินไทย "ไทย ไทเกอร์" เบื้องลึกปั้น "มัลติแบรนด์" ถล่มแอร์เอเชีย

โรดแมปโลว์คอสต์บินไทย "ไทย ไทเกอร์" เบื้องลึกปั้น "มัลติแบรนด์" ถล่มแอร์เอเชีย

ทันทีที่ "นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์" ประกาศเอ็มโอยูร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ ได้เกิดคำถามขึ้นมากมาย ทั้งจากฝ่ายการเมือง และภาคธุรกิจ "ประชาชาติธุรกิจ" มีข้อมูลเบื้องหลัง กระบวนการตัดสินใจมานำเสนอ ดังนี้


ทันทีที่ "นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศเอ็มโอยูร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2553 เปิด "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจโลว์คอสต์ให้บริการบินในประเทศและทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยประกาศเป็น ultra lowcost จะทำราคาขายตั๋วโดยสารได้ต่ำยิ่งกว่าคู่แข่งอย่างกลุ่มแอร์เอเชีย

จุดชนวนคำถามจากสังคม การเมือง นักธุรกิจ คนไทย และสื่อหลายค่ายในภูมิภาคเอเชียว่า ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ตั้งขึ้นมาเพื่อกำจัดทิ้ง "นกแอร์" สายการบินลูกของการบินไทยวัย 7 ปีหรือไม่ และการตัดสินใจเลือกร่วมทุนกับ "ต่างชาติ" แบรนด์สิงคโปร์ในเครือกองทุนเทมาเส็ก เปิดทางให้เข้ามาใช้ทรัพยากรและสิทธิการบินของประเทศในนามสายการบินแห่งชาติ เพื่อทำมาหากินเมืองไทย อนาคตหากเกิดความเสียหายใครจะรับผิดชอบ ?

ทัพใหม่ 3 แบรนด์ "พรีเมี่ยม-บัดเจ็ต-โลว์คอสต์"

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โฟกัสคำตอบเป้าหมายตีกรอบใหญ่เรื่องหลักคือ การปรับกลยุทธ์ปกป้อง "ส่วนแบ่งการตลาดผู้โดยสาร" ในประเทศและภูมิภาคเอเชียไว้ให้ได้ เพราะหลังจากเกิดโลว์คอสต์เพียง 7 ปี (2546-ปัจจุบัน) ผู้โดยสารในประเทศขยายตัว 15-20% แต่การบินไทยกลับเสียส่วนแบ่งตลาดจากเดิม 80% เหลือ 40% หายไปกว่า 40% นกแอร์ทำได้เพียง 16% ส่วนแอร์เอเชียกวาดมากถึง 27.5% ผู้โดยสารระหว่างประเทศแถบเอเชียขยายตัวปีละ 5-6% การบินไทยเคยมีส่วนแบ่งตลาด 42.2% ปัจจุบันเหลือ 32.8% หายไป 10% นกแอร์ไม่ได้บิน เป็นของแอร์เอเชีย 18.1%

วันนี้การบินไทยจะต้องสร้างแบรนด์สินค้าลงสนามแข่งกับโลว์คอสต์ ซึ่งมีขนาดตลาดใหญ่ขึ้นทุกวัน และเพื่อเป้าหมายสูงสุดในอนาคต 5 ปี พ.ศ. 2553-2557 นายปิยสวัสดิ์ยืนยันเป็นแนวคิดที่ใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือน ตัดสินใจแจ้งเกิด "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" โลว์คอสต์ 100 ล้านบาท

คณะกรรมการบริหารนโยบายการบินไทย (Executive Meeting Management : EMM) ได้นำผลการศึกษาเปรียบเทียบโรดแมปการลงทุนไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส มาเปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หัวใจหลักของการร่วมทุนครั้งนี้ตั้งเป้าสร้าง "กลยุทธ์มัลติแบรนด์" ปรับตำแหน่งสินค้าและการตลาดใหม่ใน 3 ระดับคือ

"ระดับพรีเมี่ยม" เป็นหน้าที่ของ "การบินไทย" ต้องเปลี่ยนครั้งใหญ่ทั้งฝูงบิน บริการ โปรดักต์ สู้กับสายการบินชาติอื่น เช่น สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส เอมิเรตส์ สายการบินกลุ่มตะวันออกกลาง จีน อินเดีย
"ระดับกลาง" ในภูมิภาคเอเชีย "นกแอร์" จะต้องเพิ่มขีดความสามารถลงสนามในฐานะสายการบินที่บริหารต้นทุนต่ำ หรือ budget airlines จะต้องมีฝูงบินมากกว่า 1 แบบ เช่น โบอิ้ง เอทีอาร์ ใช้แข่งขันกับสายการบินนานาชาติทั่วไป
"ระดับโลว์คอสต์" ต้องสร้างสายพันธ์ุใหม่ "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" ขายตั๋วในราคาถูกยิ่งกว่าโลว์คอสต์ทั่วไป ด้วยการใช้ฝูงบินเหมือนกับคู่แข่ง คือ แอร์บัส A320 ลงสนามห้ำหั่นเอาชนะกลุ่มแอร์เอเชียให้สำเร็จภายใน 5 ปี

เบื้องหลังผลศึกษา 5 แอร์ไลน์

ส่วนการเลือกแบรนด์สิงคโปร์ เนื่องจากผลการศึกษาเปรียบเทียบโลว์คอสต์ในเอเชีย 5 องค์ประกอบ คือ ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม สถานะทางการเงิน ขนาดฝูงบิน เครือข่ายเส้นทางบิน และปริมาณความเหมาะสม ดำเนินการระหว่าง 5 สายการบิน ได้แก่

"เจ็ตสตาร์ แอร์เวย์ส" ของแควนตัสเปิดเมื่อปี 2546 ช่วงปี 2552 ทำรายได้ 10,965 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักภาษี 3,819 ล้านบาท สั่งซื้อฝูงบินใหม่แอร์บัส A320 เพิ่ม 21 ลำ บินในเอเชียและออสเตรเลีย แต่ศูนย์กลางการบินอยู่ในสิงคโปร์และเวียดนาม

"ไลออนแอร์" อินโดนีเซีย เน้นให้บริการผู้โดยสารทั่วไปอย่างสะดวกสบายระดับบิสซิเนสคลาส ไม่แจ้งผลประกอบการ สั่งฝูงบินใหม่เพิ่มจาก 50 เป็น 148 ลำ บินในประเทศ 36 เส้นทาง ระหว่างประเทศ 5 เส้นทาง เน้นหนักขยายเที่ยวบินในประเทศและมีข้อจำกัดการร่วมทุนบินต่างประเทศ

"เซบูแปซิฟิก" ฟิลิปปินส์ ก่อตั้งเมื่อปี 2549 เป็นเครือข่ายของสหภาพยุโรป สถานะการเงินเป็นบวกมาก ปี 2552 ทำรายได้ 16,342 ล้านบาท สั่งฝูงบินใหม่ 24 ลำ และอายุเฉลี่ยฝูงบินน้อยเป็นสิ่งที่ดี บินในประเทศ 32 เส้นทาง ต่างประเทศ 16 เส้นทาง น่าสนใจจะร่วมทุน

"ดราก้อนแอร์" สายการบินลูกโลว์คอสต์ของคาเธ่ย์ แปซิฟิค ฮ่องกง-จีน เปิดเมื่อปี 2538 สถานะการเงินแข็งแรงมาก ปี 2552 ทำรายได้ 28,797 ล้านบาท สั่งฝูงบินใหม่แอร์บัส A320 และ A321 รวม 29 ลำ บินในเอเชีย 15 เมือง 26 เส้นทาง รวมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม การเงินแข็งแกร่ง การเติบโตขึ้นอยู่กับตลาดในจีนขยายตัว น่าสนใจจะร่วมทุน

"ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" สิงคโปร์ ถือหุ้นใหญ่ 49% ผลการดำเนินงานปี 2549-2550 เป็นลบ แต่ปรับตัวได้ดีขึ้น ปี 2552 เพิ่ม 418 ล้านบาท ใช้ฝูงบินเดียวกับแอร์บัส A320 สั่งซื้อใหม่ภายในปี 2554 จากเดิม 19 เพิ่มเป็น 66 ลำ บินครอบคลุมในเอเชีย จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และไทย 4 เส้นทาง สถานะทางการเงินอยู่ระหว่างปรับปรุง โดยจะเพิ่มขีดความสามารถฝูงบิน และมีแผนขยายเครือข่ายเส้นทางบินตามแนวคิดของผู้ศึกษาน่าจะเป็นแคนดิเดตได้ แต่ไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดเจน

ผลการศึกษาของ "การบินไทย" ก่อนกำหนดทางเลือกร่วมทุนได้รวบรวมจุดแข็งและจุดอ่อนของทั้ง 5 สายการบิน เข้าเกณฑ์เหมาะสม 2 สายการบิน คือ เซบูแปซิฟิก ดราก้อนแอร์ ผลสุดท้ายก็มาลงล็อกที่ "ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" ซึ่งระบุว่าน่าจะเป็นแคนดิเดตของไทย

ลงล็อกไทเกอร์ฯเข้าตา 7 ประการ

เพราะจุดดีที่การบินไทยมองเห็น หากร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส จะได้ประโยชน์ 7 ประการ คือ 1.แบรนด์แข็งแรง 2.เป็นโลว์คอสต์เต็มตัว บริหารโดยอิสระ ถึงจะมีผู้ถือหุ้นหลายรายก็ตาม ได้แก่ สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส 33.7% Dehlia Investment (เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์) 7.7% ผู้ก่อตั้งไรอันแอร์ และอเมริกันเวสต์ 26.2% สาธารณชนทั่วไป 32.4% 3.จะเชื่อมเครือข่ายบินอย่างเข้มแข็ง 3 พื้นที่ คือ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ไทย

4.ไทเกอร์ โฮลดิ้ง สนใจขยายตลาดในไทย และตั้งเป้าจะร่วมทุนกับการบินไทย 5.ไทเกอร์ฯมีแผนขยายฝูงบินโดยสั่งซื้อล่วงหน้าแล้วจาก 19 เป็น 70 ลำ 6.ขั้นตอนทำได้แบบทันที ทั้งการร่วมทุนและพร้อมเปิดบินในไทย 7.ไทเกอร์ แอร์เวย์ส มีคู่แข่งรายเดียวกันกับการบินไทย คือ แอร์เอเชีย
องค์กรศูนย์การบินเอเชีย-แปซิฟิก (Civil Aviation Pacific-Asia : CAPA) รายงานว่า การร่วมทุนของการบินไทยกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส จัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เป็นข่าวดีทางด้านการเปิดน่านฟ้าเสรีรองรับตลาดผู้โดยสารเติบโตในอนาคต แต่เป็นข่าวร้ายของนกแอร์ซึ่งการบินไทยถือหุ้นใหญ่ 39% และเจ็ตสตาร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากเมื่อไทยกับสิงคโปร์ร่วมมือกัน เพราะต่อไปโลว์คอสต์จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นผู้เปลี่ยนกติกาการกำกับดูแลใหม่ ส่วนใครจะอยู่รอดหรือไม่ต้องรอดูกันต่อไป

สำหรับส่วนแบ่งตลาดโลว์คอสต์แอร์ไลน์ในภูมิภาคเอเชีย ช่วงแรกเริ่มเปิดบริการปี 2546 การบินไทยยังเป็นเจ้าตลาดครองไว้ 42% สายการบินนานาชาติรายอื่นรวมกัน 35.7% โลว์คอสต์ (กลุ่มแรกแอร์เอเชีย) มี 2.38% ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 7 ปี การบินไทยเหลือส่วนแบ่ง 32.8% แอร์เอเชียเพิ่มเป็น 18.1% สายการบินอื่นรวมกันเพิ่มเป็น 49.9%

ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้เป็นแรงผลักอยู่เบื้องหลังการเกิดโลว์คอสต์ "การบินไทย" และการใช้แบรนด์ต่างชาติควบคู่กับการจัดชั้นนกแอร์ไปอยู่ในตำแหน่งใหม่ แผนยกเครื่องธุรกิจการบินของไทยครั้งนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นเรื่องอนาคต แต่ตอนนี้ผู้นำสายการบินแห่งชาติและรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันจะเดินหน้าร่วมทุนต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธรกิจ

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

โลคอสต์ใหม่ "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส"คาดเริ่มบินต้นปีหน้า ใช้วิธีจองตั๋วผ่านเน็ตลดต้นทุน


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) ในความร่วมมือการร่วมทุน กับสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส ร่วมกันจัดตั้งสายการบินไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ จะทำการบินในเส้นทางภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงไตรมาส 1 ของปี 54 เนื่องจากการบินไทยสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสายการบินโลว์คอสถึง 32 % หลังจาก 7 ปีที่ผ่านมาการบินไทย มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจการบินในประเทศถึง 82% แต่ปัจจุบันทั้งการบินไทย และนกแอร์ มีส่วนแบ่งการตลาดเหลือเพียง 50 %

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า การร่วมทุนตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์ จะใช้เงินลงทุนจัดตั้ง 100 ล้านบาท มีทุนจดทะเบีย 200ล้าน บาท การบินไทยถือหุ้น 49.8% และกลุ่มบริษัทในเครือของการบินไทยอีก 1.2% รวมเป็น 51% และไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง คอมพานี ลิมิเต็ดอีก 49 % และการบินไทย ได้สิทธิที่นั่งในคณะกรรมการ 3 คน ส่วนไทเกอร์ แอร์เวย์ส มีที่นั่งในคณะกรรมการ 2 คน โดยผู้บริหารที่จะมาดูแล จะเป็นคนไทย และมีแผนจัดหาเครื่องบินใหม่ คือ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320 จำนวน 5 ลำ ในปี 2554 และอีก 5 ลำ ในปี 2555 โดยกำหนดขายตั๋วโดยสารทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลักที่ 92% เพื่อลดต้นทุน โดยแผนการดำเนินการทั้งหมดคาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน

"ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า การตั้งสายการไทย ไทเกอร์แอร์เวย์ส จะมาแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของนกแอร์ ที่การบินไทยมีหุ้นอยู่ 39 % นั้นเห็นว่าสายการบินนกแอร์ ไม่ถือเป็นสายการบินโลว์คอสเต็มตัวเพราะยังมีต้นทุนสูงในบางเส้นทางบิน หากเป็นโลว์คอส อย่างแท้จริง ต้องตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทั้งหมด ตอนนี้เราจำเป็นต้องต้องแข่งขันเพื่อความอยู่รอด เพราะตลาดโลว์คอสมีอัตราการเติบโตสุงที่สุดในขณะนี้ ถ้าไม่ทำอะไร ในอนาคตก็คงมีคนมาด่านผมที่หลังว่าทำไมไม่ทำอะไร มาคิดทำตอนนี้ผมว่ายังคิดช้าเกินไป เพราะตลาดโลว์คอสยังมีโอกาสโตอย่างต่อเนื่อง ผมคงไม่โง่พอที่จะมาคิดแย่งส่วนแบ่งของนกแอร์ที่มีน้อยอยู่แล้วแต่ตลาดอื่นที่ยังมีส่วนแบ่งอยู่ถึง 50 % คือเป้าหมายที่เราต้องการ การบินไทยไม่มีทางฆ่านกแอร์แน่นอน และผมก็ไม่มีปัญหากับผู้บริหารนกแอร์ เราคุยและเข้าใจกันตลอด ”

นายโทนี เดวิส ประธานกรรมการบริหาร สายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส กล่าวว่า สายการบินต้นทุนต่ำแห่งใหม่ จะเน้นตลาดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก โดยจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทาง และยังทำการบินครอบคลุมไปยังเอเชียตอนเหนือ และอินเดีย โดยจะเน้นการแข่งขันและแบ่งสัดส่วนการตลาดกับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ เช่น สายการบินแอร์เอเชีย โดยจะใช้โมเดลการคิดอัตราค่าโดยสารเช่นเดียวกับการคิดค่าโดยสารของไทเกอร์แอร์เวยส์ที่ออสเตรเลีย เฉลี่ยค่าโดยสารประมาณ 50 เหรียญสหรัฐต่อที่นั่ง หรือประมาณ 1,700 บาทต่อที่นั่ง แต่ครั้งนี้ราคาค่าโดยสารของสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่จะเป็นการใช้ค่าโดยสารในอัตราเดียวกันทั้งลำ

ด้านนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ กล่าวว่า การบินไทยได้หารือกันแล้วถึงการแบ่งกลุ่มพื้นที่การบินเป้าหมาย เพื่อเปิดทางทำแผนการลงทุนของบริษัทไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์บริการบินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย พร้อมกับมอบหมายให้นกแอร์พัฒนาความแข็งแกร่งตลาดในประเทศเป็นหลัก ซึ่งจะไม่มีผลกระทบกับนกแอร์ และยังส่งผลดี เพราะสามารถใช้เครือข่าย โอนผู้โดยสารต่างประเทศมาใช้บริการในประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย

ข่าวจากประชาชาติธุรกิจ เกี่ยวกับ ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์

เปิดแผนบินไทยร่วมทุน"ไทเกอร์ แอร์"สิงคโปร์ ทำโลว์คอสต์ชน Air asia

"บินไทย" ทุ่มเกือบ100ล้าน ตั้งบริษัทร่วมทุนร่วมไทเกอร์ แอร์เวย์ส"ทำสายการบินต้นทุนต่ำ ลุยเปิดตลาดทั่วอาเซียน-เอเชีย ตุลาคมนี้ ใช้เทคนิคเข้าถือหุ้นใหญ่เกิน 51% ตั้งเป้าชนยักษ์ใหญ่แอร์เอเชีย ด้านซีอีโอแอร์เอเชียบอกยินดีต้องรับน้องใหม่ บอกอนาคตสู้กันสนุก

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2553 นายนิรุจน์ มณีพันธ์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายกฎหมายและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 มีมติอนุมัติในหลักการเพื่อลงทุนในบริษัทร่วมทุนกับ Tiger Airways Holdings Limited เพื่อประกอบการขนส่งในรูปแบบสายการบินต้นทุนต่ำ (Ultra-Low-Cost, Low-fare Airline) ทุนจดทะเบียน 200ล้านบาท โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 49.8 และTiger Airways Holdings Limited ร้อยละ 49.0 คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 99.6 ล้านบาท

สำหรับวัตถุประสงค์การเข้าร่วมทุน
1. สร้างโอกาสทางธุรกิจและรองรับการเปิดเสรีทางการบิน
2. สร้าง Brand เพิ่ม เพื่อปกป้องและขยายส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละกลุ่มลูกค้า
3. แสวงหาโอกาสในการเพิ่มรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ทั้งนี้ที่ประชุมได้อนุมัติให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ลงนามใน MOU ระหว่างบริษัทฯ กับ Tiger Airways Holdings Limited เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Tiger AirwaysHoldings Limited ต่อไป

แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) และฝ่ายบริหาร ได้เสนอแผนการลงทุนสายการบินต้นทุนต่ำแห่งชาติ (national low cost airline) เปิดดำเนินการ ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ขึ้นในเมืองไทย หากบอร์ดเห็นชอบหลักการ วันที่ 2 สิงหาคม 2553 ฝ่ายบริหารการบินไทยเตรียมจะลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจเบื้องต้น (MOU) กับกลุ่มไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง ธุรกิจในเครือเทมาเส็ก ซึ่งปัจจุบันไทเกอร์ฯจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และจะเริ่มเปิดบินตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

การบินไทยวางโครงสร้างจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เกิน 51% ด้วยการใช้วิธีทางเทคนิคเพื่อป้องกันผิดพระราชบัญญัติร่วมทุนรัฐวิสาหกิจ นั่นคือการบินไทยจะถือหุ้น 49.5% ใช้เงินลงทุนขั้นแรก 100 ล้านบาท และใช้กองทุนสวัสดิการพนักงานการบินไทยเข้าไปถือหุ้นอีกประมาณ 1.5 ส่วนที่เหลืออีก 49% เป็นของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส และไรอันแอร์ ขั้นตอนแรกเสนอให้มีกรรมการบริหาร ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เพียง 5 คนเท่านั้น เป็นตัวแทนจากการบินไทย 3 คน และจากไทเกอร์ฯ โฮลดิ้ง อีก 2 คน

ปัจจัยหลักที่ผู้บริหารการบินไทยเคยนำเสนออย่างไม่เป็นทางการในที่ประชุมบอร์ดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2553 คือ ตั้งเป้าเข้าไปชิงส่วนแบ่งผู้โดยสารระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลในภูมิอาเซียน และเอเชีย-แปซิฟิก แข่งขันกับเจ้าตลาดอย่างกลุ่มแอร์เอเชีย ซึ่งขณะนี้เปิดเครือข่ายสายการบินโลว์คอสต์ครอบคลุมถึง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย (สำนักงานใหญ่) ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

"ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การบินไทยได้ทำการศึกษาแผนธุรกิจการเปิดสายการบินต้นทุนต่ำแห่งชาติมาบ้างแล้ว โดยให้นายกวีพันธ์ เรืองผกา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบัญชีและการเงิน ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาการลงทุนพัฒนาธุรกิจของการบินไทย เดินหน้าศึกษาการเปิดไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ จากนั้นก็เริ่มดำเนินกิจการทันที เนื่องจากไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ มีฝูงบินพร้อมใช้ประจำอยู่เรียบร้อยแล้วจำนวน 10 ลำ" แหล่งข่าวกล่าว

ส่วนนกแอร์ซึ่งเป็นสายการบินลูกที่การบินไทยถือหุ้นใหญ่ 39.5% จะวางตำแหน่งให้พัฒนาเส้นทางบินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น เนื่องจากยังไม่พร้อมจะขยายเที่ยวบินไปต่างประเทศ อีกทั้งเคยเปิดบินมาแล้วในอดีต เส้นทางกรุงเทพฯ-เดลี แต่ล้มเหลว การดำเนินงานขาดทุนมโหฬาร

ด้านนายพาที สารสิน ซีอีโอนกแอร์ กล่าวว่า การบินไทยได้หารือกันแล้วถึงการแบ่งกลุ่มพื้นที่การบินเป้าหมาย เพื่อเปิดทางทำแผนการลงทุนไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์บริการบินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย พร้อมกับมอบหมายให้นกแอร์พัฒนาความแข็งแกร่งตลาดในประเทศเป็นหลัก

ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ ในการประชุมบอร์ดนกแอร์จะเสนอพิจารณาแผนเช่าฝูงบินอนาคต จากบริษัท จี แคช จำกัด เพิ่มเครื่องบินใหม่ทดแทนเครื่องรุ่นเก่า กำหนดทยอยนำมาปลายปีนี้เรื่อยไปจนถึงสิ้นปี 2555 จำนวน 12 ลำ แยกเป็น โบอิ้ง B737-800 รวม 8 ลำ ขนาดบรรทุกลำละ 189 ที่นั่ง (เข้ามาแทนโบอิ้ง B737-400) และ ATR อีก 4 ลำ ขนาดบรรทุกลำละ 70 ที่นั่ง วางกลยุทธ์นำมาบินในจังหวัดเล็ก ๆ จากกรุงเทพฯ ปลายทางแพร่ น่าน ร้อยเอ็ด ชุมพร

ส่วนผลการดำเนินงานของนกแอร์ ตลอดครึ่งปีแรกระหว่างมกราคม-มิถุนายนปีนี้ สามารถทำกำไรสุทธิเกิน 400 ล้านบาท โดยเฉพาะช่วงนอกฤดูเดินทาง (low season) มิถุนายน มีกำไรสุทธิ 27 ล้านบาท กรกฎาคมมีกำไรสุทธิ 50 ล้านบาท และยอดผู้โดยสารจองซื้อตั๋วล่วงหน้าตลอดสิงหาคมนี้เกิน 30% สะท้อนภาพธุรกิจการบินในประเทศกำลังดีวันดีคืน
"การเปิดไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ไม่มีผลกระทบกับนกแอร์ แถมยังจะส่งผลดี เพราะสามารถใช้เครือข่ายถ่ายโอนผู้โดยสารต่างประเทศมาใช้บริการในประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย" นายพาทีกล่าว


นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอไทย แอร์เอเชีย โลว์คอสต์กลุ่มแอร์เอเชีย กล่าวว่า ได้ยินนักลงทุนในสิงคโปร์คุยกันมาตลอด 3 เดือน กรณีการบินไทยจะผนึกแบรนด์โลว์คอสต์แอร์ไลน์กับไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ ในฐานะผู้นำการขายตั๋วโดยสารราคาประหยัดเส้นทางบินระหว่างประเทศแถบอาเซียน เอเชีย จีนตอนใต้+อินโดจีน ยินดีต้อนรับน้องใหม่ ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เข้าสู่สนามแข่ง เพราะจากการศึกษาตลาดบริเวณนี้มีประชากรรวมกันมากถึง 680 ล้านคน และอนาคตอันใกล้คงต้องได้สู้กันสนุก โดยขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีกลยุทธ์ทำการตลาดได้เหนือชั้นกว่ากัน


เพราะปัจจุบันในรัศมีการบิน 400 กิโลเมตร กลุ่มแอร์เอเชียเป็นเจ้าตลาดโลว์คอสต์ มีฝูงบินขนาดใหญ่กว่า 100 ลำ ทยอยสั่งเครื่องป้ายแดงเข้ามาเสริมทัพช่วง 5 ปีข้างหน้าอีกเกือบ 200 ลำ เฉพาะไทย แอร์เอเชีย (ประเทศไทย) ปี 2553 มีผู้ใช้บริการกว่า 6.2 ล้านคน จากต่างประเทศ 3 ล้านคน ไทย 3.2 ล้านคน ทำรายได้ปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และเป็นสายการบินที่ลุยทำการบินระหว่างประเทศมาตั้งแต่วันแรกที่เปิดดำเนินการ


"ถ้าวันนี้ผมเป็นผู้นำการบินไทย คงจะไม่มาเสียเวลาลงทุนเปิดโลว์คอสต์เพื่อลงมาแย่งเค้กรายได้หลักหมื่นล้านบาท ถึงขนาดตลาดจะใหญ่แต่ส่วนต่างกำไรจากการขายตั๋วและการบริหารจัดการต้องใช้ความเป็นมืออาชีพ ผมตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดการบินไทยไม่คิดการใหญ่พัฒนาแบรนด์ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่รู้จักทั่วโลกเพื่อแข่งขันกับสายการบินแห่งชาติอย่างสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส และเอมิเรตส์ ซึ่งมาทีหลังแต่ดังกว่า แถมยังครองตลาดการบินมูลค่าหลายแสนล้านบาทเพิ่มมากขึ้นทุกปี"


นอกจากนี้ นายทัศพลยังกล่าวด้วยว่า เท่าที่ติดตามความเคลื่อนไหวของไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ ขณะนี้มีฝูงบินอยู่ 10 ลำ จอดอยู่สิงคโปร์ 6 ลำ และออสเตรเลีย 4 ลำ ตลอดระยะเวลาเกือบปีได้พยายามเล็งหาประเทศที่จะขยายสายการบิน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เข้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ไม่ได้ ตอนนี้ก็เหลือแต่ไทยเพียงแห่งเดียว


"หากเปรียบเทียบแบรนด์โลว์คอสต์ ระหว่างไทเกอร์ แอร์เวย์ส แม้จะเริ่มต้นบินระหว่างประเทศ เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะไม่มีเส้นทางในประเทศ แต่แบรนด์ในเวทีอินเตอร์ก็ยังไม่แรงเท่ากับกลุ่มแอร์เอเชีย ฉะนั้นจึงไม่เคยหวั่นว่าจะพ่ายแพ้ ถ้าการบินไทยเป็นผู้ลงทุนเองในเมืองไทย" นายทัศพลกล่าว