วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

KM DAY คืออะไร

"เฮ้ยเหม กูบินไปสมุยวันนั้น เจอเมฆขวางไฟนอล17เลยว่ะ กูเลยขอเวคเตอร์ไปทางรันเวย์35 โล่งเลยหว่ะ นี่ดีนะที่ลองสอบถามหอก่อน ไม่งั้นไดเวอร์ตไปแล้ว น้ำมันก็ปริ่มๆซะด้วยสิ"
"พี่ครับ วันนั้นผมบินไปสุราษฎร์ ไฟนอลรันเวย์22นกบินว่อนเลยครับ ทางสุราษฎร์บอกว่า มันมาเป็นประจำในช่วงนี้ของปี ผมเลยแจ้งทางtower สุราษฎร์ให้เค้าไล่นกให้ก่อน TAKEOFF ไม่งั้นคงแย่แน่เลย"
"ครูเคยเจอปัญหาเรื่อง flap asymmetry แต่โชคดีที่ว่าวันนั้นเปิดดูcomplaintsเก่าๆในlog มันมีเรื่องนี้บ่อยๆ ก็เลยศึกษาหาทางหนีทีไล่ไว้ก่อน เปิดmalfunction checklist เอาไว้ก่อนเลย ปรากฏว่า มันเกิดจริงๆ ก็เลยทำchecklistได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงตรวจสอบล่วงหน้าแล้วว่า รันเวย์ยาวพอแน่ๆ ก็เลยlandingลงไปอย่างง่ายๆ ไม่งั้นคงต้องgo around เสียเวลาเสียน้ำมันเปล่าๆ"


คำพูดเหล่านี้เป็นของนักบิน734ซึ่งเดี๋ยวนี้ย้ายไปอยู่ฟลีทอื่นบ้าง เกษียณบ้าง รวมถึงความรู้ที่อยู่กับนักบินเหล่านี้ก็หายสาบสูญไป อาจจะหลงเหลืออยู่กับคนไม่กี่คน เป็นที่น่าเสียดายที่ความรู้เหล่านี้มิได้ถูกเก็บรวบรวมไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและทำตาม เพราะเราถือคติที่ว่า เดินตามผู้ใหญ่หมาคงไม่กัด ดังนั้นจึงเกิดเป็นโครงการ KM DAY ขึ้น ซึ่ง KM มาจากคำว่า KNOWLEDGE MANAGEMENT หรือ การจัดการองค์ความรู้ เราแบ่งประเภทของความรู้เป็นสองประเภท ได้แก่
1. EXPLICIT KNOWLEDGE หรือความรู้ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่อยู่ในตำรา อันได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ผ่านการวิจัย (intellectual)
2.TACIT KNOWLEDGE เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน อาจจะเรียกได้ว่าเป็น เคล็ดวิชา หรือ ภูมิปัญญาก็ได้ เป็นสิ่งที่ได้มาจากการใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ(intelligence) เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน

สำหรับ EXPLICIT KNOWLEDGEพวกเราคงจะคุ้นเคยและได้สัมผัสกับมันมาบ้างแล้ว จากการที่ได้อ่านตำรับตำรา จากการฝึกบินกับครู หรือเมื่อฝึกบินในSIMULATOR เมื่อต้องทำ PFT หรือ LOFT แต่ความรู้แบบ TACIT KNOWLEDGE เป็นสิ่งที่เราได้มาจากการประสบพบด้วยตัวเอง หรือได้รับการถ่ายทอดมาอีกทีจากครูบาอาจารย์หรือนักบินท่านอื่น และได้ทดลองทำแล้วจนเกิดความมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริงและ WORK อีกด้วย

ดังนั้นในการทำworkshop KM DAY ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 และ 18 กรกฎาคมนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมworkshop ได้มีโอกาสในการร่วมกัน share ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ในตัวของเรา(แบบ TACIT KNOWLEDGE)ให้ผู้อื่นได้รับทราบ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า STORYTELLING หรือการเล่าสู่กันฟังนั่นเอง โดยที่ผู้เข้าร่วมworkshopท่านอื่นจะตั้งใจฟังท่านอย่างจริงจัง โดยฟังอย่างสุภาพ ไม่ตัดสินว่าความคิดหรือขุมความรู้ของท่านถูกหรือผิด ในขณะเดียวกัน ก็จะมีทีมงานของ KM ที่จะขออนุญาตบันทึกขุมความรู้ของท่านไว้ เพื่อจัดทำเป็น KNOWLEDGE ASSETแบบยั่งยืนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้สมาชิกท่านอื่นในสังคมของเรา ได้ร่วม share ประสบการณ์หรือความรู้แบบ TACIT นี้ด้วย ซึ่งเราสามารถทำได้ในรูปแบบของจดหมายเวียน (email loop) หรือ WEBBLOG หรือ BLOG ที่เรารู้จักกันดีแล้ว รูปแบบ BLOG จะก่อให้เกิดการครบวงจรในการทำ KM ซึ่งต้องประกอบไปด้วย

1.KNOWLEDGE VISION (KV)หรือการกำหนดวิสัยทัศน์ของการทำ KM ให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กร
2.KNOWLEDGE SHARING(KS) หรือการแบ่งปันความรู้ฝังลึกของแต่ละบุคคล(จะเป็นแบบ EXPLICIT หรือ TACIT ก็ได้ แต่จะเน้นแบบ TACIT เป็นหลัก อัตราส่วนอยู่ที่ 80:20) โดยใช้การสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ได้โดยการเขียน BLOG ที่ทางทีมงาน KM จัดให้ เราสามารถUPDATE ข้อมุลของเราได้ตลอด อีกทั้งยังสามารถเข้ามาดูได้ตลอด24ชั่วโมง
3.KNOWLEDGE ASSET(KA) หรือการเก็บรวบรวมขุมปัญญาที่ได้รับมาจากแต่ละท่านที่ร่วมshare ใน BLOGและที่ได้จากการทำworkshop แล้วสกัดออกมาเป็นแก่นความรู้ (CORE COMPETENCY) และจัดเก็บรวบรวมเอาไว้เป็นสมบัติส่วนรวมขององค์กร เพื่อง่ายในการค้นหาได้ตลอด24ชั่วโมงและนำไปใช้งานตามที่แต่ละคนในองคกรต้องการเรียนรู้จากเรื่องเหล่านั้น โดยมีการระบุชื่อหรือกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตขุมปัญญาเหล่านั้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้ค้นพบหรือคิดค้นขึ้นมา

รูปแบบ KM WORKSHOP ที่เราจะร่วมกันทำ จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการที่จะนำพาองค์กรของเราเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงให้เป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ LEARNING ORGANIZATION ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน และตรงตามวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรที่เราหวังและตั้งใจเอาไว้ครับ
โอกาสหน้าจะมาว่ากันเรื่อง LEARNING ORGANIZATION นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: